About

เกี่ยวกับรางวัลนวัตกรรมแห่งชาติ

รางวัลนวัตกรรมแห่งชาติ

รางวัลนวัตกรรมแห่งชาติถือเป็นรางวัล ทรงเกียรติสูงสุดในแวดวงนวัตกรรมของประเทศไทย ที่ริเริ่มจัดประกวดโดยสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) เพื่อประกาศเกียรติคุณและเชิดชูเกียรติ แก่คนไทยที่ริเริ่มสร้างสรรค์ผลงานที่มีความเป็นนวัตกรรม ที่มีความโดดเด่นและเกิดคุณค่าที่ชัดเจนต่อประเทศชาติ ในหลากหลายด้านซึ่งจะสร้างให้เกิดความตื่นตัวด้านนวัตกรรม ขึ้นในทุกภาคส่วนของสังคมไทย สร้างให้เกิดความภาคภูมิใจ ในศักยภาพนวัตกรรมจากฝีมือคนไทย และสร้างให้เกิดภาพลักษณ์ สู่การเป็นประเทศแห่งนวัตกรรม ผ่านการสื่อสารให้เกิด การรับรู้ผลงานนวัตกรรมของประเทศไทยในวงกว้าง ทั้งในประเทศและต่างประเทศ

     

ทั้งนี้ ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2549 เทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศรมหาภูมิพลอดุยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เป็น “พระบิดาแห่งนวัตกรรมไทย” และกำหนดให้วันที่ 5 ตุลาคมของทุกปี เป็น “วันนวัตกรรมแห่งชาติ” เนื่องจากเป็นวันที่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศรมหาภูมิพลอดุยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เสด็จฯ ทอดพระเนตรการดำเนินงานโครงการศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองฯ และได้พระราชทานพระราชดำรัสเกี่ยวกับโครงการแกล้งดิน ดังนั้น เนื่องในวันนวัตกรรมแห่งชาติของทุกปี สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) ร่วมกับหน่วยงานชั้นนำภาคเอกชน ภาคสถาบันการศึกษา รวมถึงภาคสังคม จึงกำหนดจัดงาน “วันนวัตกรรมแห่งชาติ” ขึ้น เพื่อเทิดพระเกียรติและรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณ พระอัจฉริยภาพและพระปรีชาสามารถด้านนวัตกรรมของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และจัดพิธีมอบรางวัลนวัตกรรมแห่งชาติขึ้นในวันดังกล่าว

รางวัลนวัตกรรมแห่งชาติถือเป็นรางวัล ทรงเกียรติสูงสุดในแวดวงนวัตกรรมของประเทศไทย ที่ริเริ่มจัดประกวดโดยสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) เพื่อประกาศเกียรติคุณและเชิดชูเกียรติ แก่คนไทยที่ริเริ่มสร้างสรรค์ผลงานที่มีความเป็นนวัตกรรม ที่มีความโดดเด่นและเกิดคุณค่าที่ชัดเจนต่อประเทศชาติ ในหลากหลายด้านซึ่งจะสร้างให้เกิดความตื่นตัวด้านนวัตกรรม ขึ้นในทุกภาคส่วนของสังคมไทย สร้างให้เกิดความภาคภูมิใจ ในศักยภาพนวัตกรรมจากฝีมือคนไทย และสร้างให้เกิดภาพลักษณ์ สู่การเป็นประเทศแห่งนวัตกรรม ผ่านการสื่อสารให้เกิด การรับรู้ผลงานนวัตกรรมของประเทศไทยในวงกว้าง ทั้งในประเทศและต่างประเทศ

     

ทั้งนี้ ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2549 เทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศรมหาภูมิพลอดุยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เป็น “พระบิดาแห่งนวัตกรรมไทย” และกำหนดให้วันที่ 5 ตุลาคมของทุกปี เป็น “วันนวัตกรรมแห่งชาติ” เนื่องจากเป็นวันที่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศรมหาภูมิพลอดุยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เสด็จฯ ทอดพระเนตรการดำเนินงานโครงการศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองฯ และได้พระราชทานพระราชดำรัสเกี่ยวกับโครงการแกล้งดิน ดังนั้น เนื่องในวันนวัตกรรมแห่งชาติของทุกปี สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) ร่วมกับหน่วยงานชั้นนำภาคเอกชน ภาคสถาบันการศึกษา รวมถึงภาคสังคม จึงกำหนดจัดงาน “วันนวัตกรรมแห่งชาติ” ขึ้น เพื่อเทิดพระเกียรติและรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณ พระอัจฉริยภาพและพระปรีชาสามารถด้านนวัตกรรมของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และจัดพิธีมอบรางวัลนวัตกรรมแห่งชาติขึ้นในวันดังกล่าว

“รางวัลนวัตกรรมแห่งชาติ” (National Innovation Awards) จัดประกวดโดย สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) นับตั้งแต่ปี 2548 ต่อเนื่องถึงปัจจุบัน ถือเป็นรางวัลนวัตกรรมทรงเกียรติสูงสุดของประเทศไทย ที่จัดขึ้นเพื่อประกาศเกียรติคุณและเชิดชูเกียรติแก่คนไทยที่สามารถสร้างสรรค์นวัตกรรมที่มีความโดดเด่นและก่อให้เกิดประโยชน์ต่อประเทศอย่างชัดเจนเพื่อให้เกิดความภาคภูมิใจในศักยภาพของคนไทยและเผยแพร่ต้นแบบการพัฒนานวัตกรรมด้านต่างๆ สู่สาธารณะชนในวงกว้าง รวมถึงกระตุ้นให้เกิดความตื่นตัวด้านนวัตกรรมในทุกภาคส่วนของสังคม เพื่อผลักดันประเทศไทยสู่การเป็นชาติแห่งนวัตกรรม การจัดประกวดรางวัลนวัตกรรมแห่งชาติ แบ่งเป็น 5 ด้าน ได้แก่ 1.ด้านเศรษฐกิจ 2.ด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม 3.ด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์และบริการ 4.ด้านสื่อและการสื่อสาร 5.ด้านองค์กรนวัตกรรมดีเด่น โดยกำหนดจัดพิธีมอบรางวัลทรงเกียรตินี้ขึ้นในวันนวัตกรรมแห่งชาติ (5 ตุลาคม) ของทุกปี

ประเภทรางวัล

ด้านเศรษฐกิจ (ดูรายละเอียด)

  1. วิสาหกิจขนาดกลาง (Medium Enterprise)
  2. วิสาหกิจขนาดย่อม และวิสาหกิจรายย่อย (Small and Micro Enterprise)

ด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม (ดูรายละเอียด)

  1. หน่วยงานภาคเอกชน (Private Sector)
  2. หน่วยงานภาครัฐ (Government  Sector)
  3. องค์กรเพื่อสังคมและชุมชน (Social and Community Organization)

ด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์และบริการ (ดูรายละเอียด)

  1. การออกแบบผลิตภัณฑ์ (Product Design)
  2. การออกแบบบริการ (Service Design)

ด้านสื่อและการสื่อสาร (ดูรายละเอียด)

  1. ผลงานนวัตกรรมสื่อและการสื่อสาร (Media Innovation and Communication)
  2. ผู้สื่อสารนวัตกรรม (Innovation Communicator)

ด้านองค์กรนวัตกรรมดีเด่น (ดูรายละเอียด)

  1. องค์กรภาคเอกชนขนาดใหญ่ 
  2. องค์กรภาคเอกชนขนาดกลาง
  3. องค์กรภาคเอกชนขนาดเล็ก
  4. องค์กรภาครัฐและภาคประชาสังคม 

เกียรติยศแห่งรางวัล

  • รางวัลชนะเลิศในแต่ละประเภท จะได้รับพระบรมรูป “พระบิดาแห่งนวัตกรรมไทย” พร้อมจารึกชื่อผลงานและเจ้าของผลงาน 
  • รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 1 ในแต่ละประเภท ได้รับโล่เชิดชูเกียรติ 
  • รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 2 ในแต่ละประเภท ได้รับโล่เชิดชูเกียรติ 

"สำหรับรางวัลนวัตกรรมแห่งชาติ ด้านเศรษฐกิจ ประเภทองค์กรขนาดใหญ่ และรางวัลนวัตกรรมแห่งชาติ ด้านองค์กรนวัตกรรมดีเด่น จะได้รับพระบรมรูป “พระบิดาแห่งนวัตกรรมแห่งไทย” พร้อมจารึกชื่อผลงานและเจ้าของผลงาน และโล่เชิดชูเกียรติตามลำดับ"

นอกจากนี้ ผู้ได้รับรางวัลจะได้รับสิทธิประโยชน์ดังนี้

  • ได้รับประกาศนียบัตรเชิดชูเกียรติ
  • ได้รับสิทธิในการพัฒนาศักยภาพทางนวัตกรรมจากการเข้ารับการอบรมและศึกษาดูงานนวัตกรรมองค์กรชั้นนำด้านนวัตกรรมในต่างประเทศ
  • ได้รับโอกาสในการพัฒนาต่อยอดผลงานนวัตกรรมโดยการสนับสนุนด้านเงินทุนจากสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน)
  • ได้รับการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์เชิดชูเกียรติผ่านสื่อมวลชน
  • ได้รับสิทธิให้ใช้ตราสัญลักษณ์สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ ควบคู่กับผลงานที่ได้รับรางวัล เพื่อประชาสัมพันธ์หน่วยงานเป็นระยะเวลา 3 ปี นับจากวันที่ได้รางวัล