รางวัลนวัตกรรมแห่งชาติ ด้านองค์กรนวัตกรรมดีเด่น เป็นรางวัลที่มอบให้แก่หน่วยงานภาครัฐและเอกชน ที่มีการบริหารจัดการโดยการใช้ความรู้ เทคโนโลยี และความคิดสร้างสรรค์มาประยุกต์ใช้เพื่อให้เกิดการสร้างคุณค่าและการเติบโตอย่างยั่งยืนแก่องค์กร ตั้งแต่ระดับยุทธศาสตร์ กระบวนการ ไปจนถึงระดับโครงสร้าง ตามกรอบแนวทางการพัฒนาศักยภาพนวัตกรรมองค์กร (Innovative Organization Model: IOM) ที่สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ ได้มีการพัฒนาขึ้นในปี พ.ศ. 2562 และนำมาใช้ประกอบการพิจารณารางวัล เป็นต้นมา
ประเด็นพิจารณา |
รายละเอียดประเด็น |
1)ศักยภาพด้านนวัตกรรมองค์กร (IOM) |
1) ประเด็นด้านยุทธศาสตร์นวัตกรรม
|
2) ประเด็นด้านการมุ่งเน้นธุรกิจ
|
|
3) ประเด็นด้านบุคลากร
|
|
4) ประเด็นด้านองค์ความรู้
|
|
5) ประเด็นด้านวัฒนธรรมองค์กร
|
|
6) ประเด็นด้านทรัพยากร
|
|
7) ประเด็นด้านกระบวนการนวัตกรรม
|
|
8) ประเด็นด้านผลิตผลจากนวัตกรรม
|
|
2)การเติบโตและความยั่งยืนขององค์กร |
1) นโยบายหลักบรรษัทภิบาล
|
2) นโยบายการแข่งขันอย่างยั่งยืน |
|
3) นโยบายการจัดการความเสี่ยง
|
|
4) นโยบายเพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อม
|
* ศึกษารายละเอียดแนวทางการพัฒนาศักยภาพนวัตกรรมองค์กร (IOM) ได้ที่เว็บไซต์ https://iop.nia.or.th
1.1 องค์กรภาคเอกชน หมายถึง
องค์กรที่มีการจดทะเบียนสถานะเป็นนิติบุคคลเอกชนซึ่งบัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
โดยมีการจำแนกขนาดตามนิยามคุณลักษณะนิติบุคคลภาคเอกชนของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
จากสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) ปี 2563 ดังต่อไปนี้
1.1.1. องค์กรภาคเอกชน ขนาดใหญ่ หมายถึง
กิจการในรูปนิติบุคคลที่มีการจ้างงาน และรายได้ ดังนี้
• ภาคการผลิต การจ้างงานมากกว่า 200 คน หรือรายได้มากกว่า 500 ล้านบาทต่อปี
• ภาคการค้าและบริการ การจ้างงานมากกว่า
100 คน หรือรายได้มากกว่า 300
ล้านบาทต่อปี
1.1.2. องค์กรภาคเอกชน
ขนาดกลาง หมายถึง
กิจการในรูปนิติบุคคลที่มีการจ้างงาน และรายได้ ดังนี้
• ภาคการผลิต
การจ้างงานระหว่าง 51-200 คน หรือมีรายได้
100 - 500 ล้านบาทต่อปี
• ภาคการค้าและบริการ
การจ้างงานระหว่าง 31-100 คน หรือมีรายได้
50 - 300 ล้านบาทต่อปี
1.1.3. องค์กรภาคเอกชน
ขนาดเล็ก หมายถึง
กิจการในรูปนิติบุคคลที่มีการจ้างงาน และรายได้ ดังนี้
• ภาคการผลิต
การจ้างงานระหว่าง 6-50 คน หรือรายได้มากกว่า
1.8 - 100 ล้านบาทต่อปี
• ภาคการค้าและบริการ
การจ้างงานระหว่าง 6-30 คน หรือรายได้มากกว่า
1.8 - 50 ล้านบาทต่อปี
ทั้งนี้
หากมีกรณีจํานวนการจ้างงานและรายได้เข้าลักษณะของวิสาหกิจต่างกันให้ยึดรายได้เป็นหลักในการพิจารณา
1.2 องค์กรภาครัฐ หมายถึง หน่วยงานส่วนราชการระดับกระทรวง กรม
จังหวัด สถาบันอุดมศึกษา องค์การมหาชน และหน่วยงานของรัฐประเภทอื่น อาทิ
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หน่วยงานอิสระตามรัฐธรรมนูญ ที่มีสถานะเทียบเท่า นิติบุคคล
1.3 องค์กรภาคประชาสังคม หมายถึง องค์กรที่ไม่ใช่หน่วยงานของรัฐที่มีสถานะเป็นนิติบุคคลซึ่งจัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ด้านพัฒนาสังคมและไม่แสวงหากําไรมาแบ่งปันกัน
แต่ไม่รวมถึงนิติบุคคล องค์กร
หรือคณะบุคคลที่จัดตั้งหรือดําเนินการโดยพรรคการเมืองหรือดําเนินงานกิจกรรมในลักษณะการแสวงหาอํานาจรัฐหรือเอื้อประโยชน์ต่อพรรคการเมือง
ได้แก่ สมาคม มูลนิธิ หรือองค์กรการกุศล สหกรณ์
วิสาหกิจชุมชน วิสาหกิจเพื่อสังคม
1.4 องค์กรรัฐวิสากิจ หมายถึง องค์การของรัฐบาลตามกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งองค์การของรัฐบาลกิจการของรัฐตามกฎหมายที่จัดตั้งกิจการนั้น
หรือหน่วยงานธุรกิจที่รัฐบาลเป็นเจ้าของ
และบริษัทจํากัดหรือบริษัทมหาชนจํากัดที่กระทรวงการคลังมีทุนรวมอยู่ด้วยเกินกว่าร้อยละห้าสิบ
2.1 องค์กรภาคเอกชนต้องเป็นนิติบุคคลที่จดทะเบียนในประเทศไทยกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้ากระทรวงพาณิชย์และประกอบธุรกิจในประเทศไทยเป็นหลัก
มีสัดส่วนผู้ถือหุ้นที่มีสัญชาติไทย มากกว่าร้อยละ 50 ของจำนวนผู้ถือหุ้นทั้งหมด
2.2 เป็นนิติบุคคลที่จดทะเบียนมาเป็นระยะเวลามากกว่า 1 ปี นับตั้งแต่วันประกาศรับสมัครประกวดรางวัล
2.3 เป็นหน่วยงานที่มีผลงานเป็นที่ประจักษ์
ไม่มีกรณีฟ้องร้องหรือข้อพิพาททางกฎหมาย และไม่มีเรื่องเสื่อมเสียปรากฏเป็นข่าวในสังคม
2.4 ไม่เป็นนิติบุคคลที่อยู่ระหว่างเลิกกิจการ
เข้าข่ายอาจถูกเพิกถอนหลักทรัพย์หรืออยู่ในระหว่างฟื้นฟูกิจการ
2.5 กรณีที่องค์กร “เคย” ได้รับรางวัลในด้าน “เดิม” แล้วจะไม่สามารถขอรับรางวัลได้ในปีถัดไป โดยจะต้องเว้นระยะเป็นเวลา 1 ปี
แต่สามารถสมัครประกวดในด้านอื่นๆ ได้
2.6 ผู้สมัครต้องยื่นเอกสารหลักฐานประกอบครบถ้วนตามกรอบระยะเวลาที่สำนักงานฯ กำหนด
การพิจารณารางวัลนวัตกรรมแห่งชาติ ด้านองค์กรนวัตกรรมดีเด่น
ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ดังนี้
ขั้นตอนที่ 1 การตรวจสอบเอกสารเบื้องต้น
องค์กรที่สนใจสามารถสมัครเข้าประกวดรางวัลนวัตกรรมแห่งชาติ ด้านองค์กรนวัตกรรมดีเด่น โดยการกรอกแบบฟอร์มในระบบออนไลน์ ที่เว็บไซต์รางวัลนวัตกรรมแห่งชาติ (https://award.nia.or.th) และเข้าตอบแบบสอบถามการจัดการองค์กรตามโมเดลพัฒนาศักยภาพนวัตกรรมองค์กร (IOM) ในระบบประเมินตนเองออนไลน์ของสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (https://iop.nia.or.th) โดยผู้สมัครต้องนำส่งเอกสารนำส่งเอกสารถูกต้องครบถ้วนตามแบบฟอร์มออนไลน์ในเวลาที่สำนักงานฯ กำหนด ทั้งนี้ หากข้อมูลไม่ครบถ้วน ขอสงวนสิทธิ์ในการพิจารณาขั้นต่อไป
ขั้นตอนที่ 2 การพิจารณาความครบถ้วนของเอกสารแสดงการดำเนินการพัฒนานวัตกรรมองค์กร
องค์กรที่ผ่านการพิจารณาในขั้นตอนที่ 1 นําส่งเอกสารนําเสนอข้อมูลศักยภาพนวัตกรรมองค์กร โดยจะได้รับการตรวจสอบความครบถ้วนของเอกสารนําเสนอข้อมูลการดําเนินการพัฒนานวัตกรรมองค์กร โดยประกอบด้วยข้อมูลตัวชี้วัดศักยภาพ และอธิบายผลการดําเนินการขององค์กรตามประเด็น โดยมีรายละเอียด ดังต่อไปนี้
- ข้อมูลพื้นฐานการดําเนินธุรกิจปัจจุบันและผลการดําเนินงาน ย้อนหลังอย่างน้อย 1 ปี
- ข้อมูลผลการดําเนินงานนวัตกรรมภายในองค์กร ตามแนวทางการพัฒนาศักยภาพนวัตกรรมองค์กร (IOM) 8 มิติ โดยมีตัวอย่างผลการดําเนินงานพัฒนาที่เป็นรูปธรรมย้อนหลังอย่างน้อย 1 ปี
- ข้อมูลแสดงการเติบโตและความยั่งยืนขององค์กร
- ข้อมูลการจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญา หรือข้อมูลรางวัลต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับนวัตกรรมที่องค์กรพัฒนา (หากมี) 3 ปีที่ผ่านมา
ขั้นตอนที่ 3 การลงพื้นที่เพื่อตรวจสอบข้อมูลและประเมินศักยภาพองค์กรนวัตกรรม
องค์กรที่ส่งเอกสารนําเสนอได้ถูกต้องครบถ้วนภายในกรอบระยะเวลาที่กําหนดจะได้รับการพิจารณาในขั้นตอนที่ 3 โดยการเข้าสัมภาษณ์ประเมินศักยภาพนวัตกรรมองค์กรเพื่อยืนยันข้อมูลตามเอกสารที่ได้นําส่ง โดยจะมีการนําเสนอข้อมูลการดําเนินงานนวัตกรรมภายในองค์กร ณ สถานที่ปฏิบัติงาน หรือผ่านการเยี่ยมชมในรูปแบบออนไลน์ ตามสถานการณ์ที่เหมาะสม เพื่อสรุปข้อมูลนําพิจารณาตัดสินในขั้นตอนต่อไป
ขั้นตอนที่ 4 การพิจารณาตัดสินมอบรางวัล
องค์กรที่ผ่านการตรวจสอบข้อมูลและลงพื้นที่ประเมินจะได้รับการพิจารณาตัดสินมอบรางวัลตามเกณฑ์การพิจารณาตัดสินรางวัลในแต่ละประเภทองค์กร เป็นลําดับต่อไป
รางวัล
1. รางวัลดีเด่น (Distinction Prize) ในแต่ละประเภทองค์กร จะได้รับพระบรมรูปพระบิดาแห่งนวัตกรรมไทย และใบประกาศเกียรติคุณ
2. รางวัลเกียรติคุณ (Merit Prize) ในแต่ละประเภทองค์กร จะได้รับโล่เชิดชูเกียรติจากสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ และใบประกาศเกียรติคุณ