จุดเริ่มต้นของแนวคิดในการพัฒนารถยนต์ TR TRANSFORMER ขึ้นมานั้น เนื่องจากบริษัทฯ เล็งเห็นว่าตลาดรถยนต์ตรวจการณ์อเนกประสงค์ หรือรถยนต์ที่ใช้ในภารกิจทางการทหาร และหน่วยงานราชการต่าง ๆ ในขณะนั้นยังไม่มีผู้ผลิตในประเทศไทย ที่สามารถผลิตได้คุณภาพตามมาตรฐานสากล ส่วนใหญ่จึงเป็นการนำเข้ารถยนต์จากต่างประเทศ ซึ่งมีราคาแพง และค่าบำรุงรักษาสูง ดังนั้นเพื่อเป็นการช่วยเหลือประเทศให้ประหยัดงบประมาณ และลดการสูญเสียเงินตราจากการนำเข้ารถยนต์ที่มีราคาแพงจากต่างประเทศ บริษัทฯ จึงได้คิดพัฒนารถยนต์ตรวจการณ์ ขึ้นมา โดยพัฒนาขึ้นตามความต้องการในการใช้งานของทางกองทัพ โดยการนำเอาโครงสร้างของรถยนต์บรรทุกปิกอัพ (pick up) ที่มีการผลิตขายในประเทศมาพัฒนาออกแบบผลิตตัวถังใหม่ทั้งหมดให้สามารถใช้งานได้หลากหลายภารกิจทั้งเป็นรถยนต์นั่งทั่วไป และรถอเนกประสงค์สำหรับภารกิจทางการทหาร และภารกิจพิเศษของหน่วยงานราชการต่าง ๆ ซึ่งมีคุณภาพเทียบเท่ารถยนต์นำเข้ามาจากต่างประเทศ และมีอรรถประโยชน์มากกว่า เพราะสามารถนั่งโดยสารได้มากถึง 11 ที่นั่ง ด้วยความปลอดภัยในราคาประหยัด ซึ่งเป็นประโยชน์สำหรับผู้บริโภคคนไทยเป็นอย่างยิ่ง อีกทั้งยังเป็นรถยนต์ที่มีความสมบูรณ์แบบได้มาตรฐานสากล ที่ง่ายในการซ่อมแซมและบำรุงรักษา อีกทั้งมีค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซมต่ำ เพราะใช้ชิ้นส่วนหลักเช่นเดียวกันกับรถทั่วไป บริษัท ไทยรุ่งยูเนี่ยนคาร์ จำกัด (มหาชน) ซึ่งดำเนินธุรกิจยานยนต์ที่ครบวงจร ตั้งแต่การออกแบบวิจัยพัฒนาชิ้นส่วนและตัวถังรถยนต์ การผลิตแม่พิมพ์และอุปกรณ์จับยึด การผลิตชิ้นส่วนโลหะและพลาสติก การประกอบรถยนต์ การขายรถยนต์และบริการหลังการขาย สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มได้ตลอดวงจรของอุตสาหกรรมยานยนต์ บริษัทให้ความสำคัญอย่างยิ่งกับการออกแบบและสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ของตนเอง สร้างความแตกต่าง เป็นผู้นำในการออกแบบและผลิตตัวถังรถยนต์ ยานยนต์ประเภทต่างๆ คิดสร้างสินค้าใหม่ๆ ที่เดิมไม่เคยมีการขายหรือผลิตในประเทศมาก่อน บริษัทฯ จึงได้ออกรถและพัฒนารถยนต์รุ่น TR TRANSFORMER เป็นรุ่นแรกในปี 2552 และเริ่มเปิดจำหน่ายครั้งแรกในปี 2553 โดยบริษัทฯ ยังคงพัฒนารถยนต์อย่างต่อเนื่องเพื่อตอบสนองความต้องการที่หลากหลายของหน่วยงานทหารและส่วนงานราชการอื่นๆ ตลอดจนลูกค้าทั่วไปผู้ชื่นชอบรถยนต์ประเภทนี้ และได้เปิดตัวรถยนต์ TR TRANSFORMER II เมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2559 ที่ผ่านมา โดยคาดหวังให้รถ TR TRANSFORMER II รถยนต์อเนกประสงค์ที่พัฒนาขึ้นด้วยศักยภาพของคนไทยซึ่งมีคุณภาพและมาตรฐานในระดับสากล สามารถใช้งานได้หลากหลายภารกิจ เป็นรถยนต์ที่มีความแข็งแรง และปลอดภัยสำหรับผู้ใช้งาน และเป็นอีกทางเลือกหนึ่งของหน่วยงานทหาร หน่วยงานราชการและหน่วยงานอื่น ๆ ที่ต้องการใช้รถยนต์อเนกประสงค์ดังกล่าว เพื่อทดแทนการนำเข้ารถยนต์จากต่างประเทศ ซึ่งมีราคาและค่าบำรุงรักษาที่สูง นอกจากนี้บริษัทฯ ยังมีนโยบายในการส่งออกรถยนต์รุ่นนี้ไปขายยังต่างประเทศ เพื่อสร้างรายได้ และชื่อเสียงให้กับบริษัทฯ และประเทศไทยอีกด้วย แนวคิดในการออกแบบพัฒนาตัวถังรถยนต์ประเภทต่างๆ ของบริษัทนั้น จะมุ่งเน้นการออกแบบรถยนต์เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าในกลุ่มที่ผู้ผลิตรถยนต์เจ้าของแบรนด์ยังไม่ได้ทำหรือทำในสิ่งที่เหนือกว่าตลอดเวลา สร้างขีดความสามารถในการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ โดยใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยร่วมกับวิศวกรรมออกแบบและนักออกแบบจากต่างประเทศ รวมทั้งความร่วมมือกับสถาบันการศึกษา และสถาบันวิจัยของรัฐบาลไทยเพื่อร่วมกันพัฒนาบุคลากรและใช้องค์ความรู้และแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ด้วยกัน รถยนต์ TR TRANSFORMER II เป็นอีกหนึ่งผลิตภัณฑ์ที่บริษัทฯ มีความภาคภูมิใจเป็นอย่างยิ่ง เป็นรถยนต์อเนกประสงค์ที่พัฒนามาจากพื้นฐานรถกระบะซึ่งมีฐานการผลิตในประเทศไทย โดยนำมาพัฒนาออกแบบผลิตตัวถังใหม่ทั้งหมด ให้มีความแข็งแรง และสามารถใช้งานได้หลากหลายรูปแบบ เช่น - เป็นรถยนต์นั่งที่มีขนาดตัวถังและห้องโดยสารกว้าง สามารถจัดรูปแบบที่นั่งได้หลากหลายตั้งแต่ 5–11 ที่นั่ง - เป็นรถตรวจการณ์อเนกประสงค์ สามารถจัดวางอุปกรณ์ทางการทหารต่างๆ ได้หลากหลายรูปแบบ และมีพื้นที่บรรทุกสัมภาระมาก มีตัวถังที่ยกสูง สามารถลุยน้ำได้ไม่น้อยกว่า 50 ซม. และสามารถดัดแปลงให้ใช้งานได้หลายรูปแบบ เช่น รถพยาบาลฉุกเฉินภาคสนาม รถบรรเทาสาธารณะภัย รถควบคุมระบบสื่อสาร เป็นต้น โดยในการออกแบบและพัฒนารถยนต์ TR TRANSFORMER II บริษัทฯ ใช้หลักการออกแบบและคำนวณทางวิศวกรรมขั้นสูงทางคอมพิวเตอร์ เช่น โปรแกรม Computer Aided Design (CAD), Computer Aided Manufacturing (CAM) และ Computer Aided Engineering (CAE) และใช้เทคโนโลยีในการผลิตตามมาตรฐานสากลเทียบเท่าแบรนด์ชั้นนำทั่วไป และได้ว่าจ้างผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบของ บริษัท Shadow Design จากประเทศอังกฤษ ซึ่งมีประสบการณ์ออกแบบรถชั้นนำของโลกมาให้คำปรึกษา ถ่ายทอดเทคนิคและความรู้ในการออกแบบ Styling, การทำ Clay Model, การออกแบบชิ้นส่วน และการทำรถต้นแบบ และสิ่งที่บริษัทฯ ให้ความสำคัญมากที่สุดคือความปลอดภัยของผู้โดยสาร ความแข็งแรงของตัวถังรถยนต์ และการนั่งที่สะดวกสบายตามมาตรฐานการออกแบบและผลิตรถยนต์ มีความเหมาะสมในการใช้งานทั้งภูมิประเทศแบบทั่วไป และภูมิประเทศแบบทุรกันดาร โดยได้ผ่านการทดสอบด้านความแข็งแรงโครงสร้าง และด้านสภาวะความสบายของการโดยสาร โดยภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกลและการบิน-อวกาศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
รถยนต์อเนกประสงค์ TR TRANSFORMER II เกิดจากการพัฒนานวัตกรรมของคนไทย ซึ่งจะเป็นนวัตกรรมต้นแบบในการพัฒนารถยนต์ประเภทต่าง ๆ ในอนาคตของบริษัท เช่น รถ Special Purpose ต่างๆ, รถยนต์ไฟฟ้า, รถมินิบัส และรถบัสไฟฟ้า เป็นต้น เพื่อให้สอดคล้องและก้าวทันการเปลี่ยนแปลงในอุตสาหกรรมยุค 4.0 ที่เน้นการสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ และการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้า ซึ่งสามารถนำไปสู่เป้าหมายที่จะทำให้ประเทศไทยเป็นผู้นำและเป็นศูนย์กลางของอุตสาหกรรมต่อตัวถัง และผลิตยานยนต์เฉพาะทาง (Special Purpose Automobile) ในอาเซียน และเอเชีย เช่น รถบัส, รถมินิบัส, รถพยาบาล, รถดับเพลิง, รถบรรทุกเพื่อการขนส่งประเภทต่างๆ, รถที่ใช้ในงานก่อสร้าง เช่น รถดัมพ์, รถโม่ปูน เป็นต้น ดังนั้น การพัฒนารถยนต์ TR TRANSFORMER II จึงก่อให้เกิดประโยชน์ทางด้านเศรษฐกิจและสังคม ดังนี้<br /> 7.1 ลดการเสียดุลการค้า และลดการสูญเสียเงินตราให้ต่างประเทศประมาณ 3,000 ล้านบาทต่อปี <br /> หากหน่วยงานทหาร หน่วยงานราชการอื่น ๆ และลูกค้าที่ชื่นชอบรถยนต์ประเภทออฟโรด หันมาซื้อรถอเนกประสงค์ TR TRANSFORMER II ซึ่งผลิตในประเทศไทย ใช้วัตถุดิบภายในประเทศ ก็จะช่วยประเทศไทยลดการเสียดุลการค้า และลดการสูญเสียเงินตราจากการนำเข้ารถยนต์ที่มีราคาแพงจากต่างประเทศได้ประมาณ 3,000 ล้านบาทต่อปี (หากสมมุติฐานว่ามีการนำเข้ารถยนต์อเนกประสงค์สำหรับหน่วยงานราชการและบุคคลทั่วไป ปีละประมาณ 500 คัน ราคารถยนต์นำเข้าคันละประมาณ 6 ล้านบาท)<br /> 7.2 สร้างงานให้กับคนไทย และสร้างรายได้ให้กับผู้ผลิตชิ้นส่วนตลอด supply chain<br /> การผลิตและประกอบรถยนต์ TR TRANSFORMER II พัฒนามาจากพื้นฐานรถกระบะซึ่งมีฐานการผลิตในประเทศไทย โดยนำมาพัฒนาออกแบบผลิตตัวถังใหม่ทั้งหมด โดยใช้วัตถุดิบและชิ้นส่วนที่ผลิตในประเทศไทย จึงเป็นการช่วยสร้างงานสร้างอาชีพให้กับคนไทยที่อยู่ในอุตสาหกรรมต่าง ๆ ตลอด supply chain เช่น เหล็ก ยาง พลาสติก สายไฟ หลอดไฟ และชิ้นส่วนต่าง ๆ จำนวนมาก <br /> 7.3 สร้างรายได้จากการส่งออกรถ TR TRANSFORMER II ไปยังต่างประเทศ<br /> รถยนต์ TR TRANSFORMER II เป็นรถยนต์ที่ออกแบบและผลิตโดยคนไทยที่มี Brand เป็นของตนเอง และมีโอกาสส่งออกไปต่างประเทศที่มีปริมาณความต้องการเพิ่มขึ้นทุกๆ ปี ซึ่งจะสร้างการจ้างงานภายในประเทศ ลดการพึ่งพาการนำเข้า และลดการเสียดุลการค้ากับต่างประเทศ และสร้างชื่อเสียงให้กับประเทศไทย โดยในระหว่างปี 2557-2559 บริษัทฯ ได้ส่งออกรถยนต์ TRANSFORMER ไปจำหน่ายยังต่างประเทศจำนวนกว่า 165 คัน ไม่ว่าจะเป็นกองทัพมาเลเซีย, ศรีลังกา, พม่า เป็นต้น และในอนาคตมีเป้าหมายที่จะส่งออก 1,000 คันต่อปี สร้างรายได้ให้บริษัทกว่า 1,400 ล้านบาทต่อปี<br /> 7.4 ประโยชน์ด้านอื่น ๆ อาทิ<br /> • พัฒนาบุคลากรวิศวกร และช่างฝีมือคนไทย ให้มีโอกาสทำงานด้านวิจัยและพัฒนาไปสู่การผลิตจริง<br /> • พัฒนาความร่วมมือกับสถาบันการศึกษาในการใช้องค์ความรู้ด้านต่าง ๆ ช่วยยกระดับนักวิจัยและอาจารย์มหาวิทยาลัย ให้ได้รับความรู้และกรณีศึกษาต่าง ๆ ในการออกแบบ, การทดสอบ, สร้างผลิตภัณฑ์รถยนต์ และตัวถังรถยนต์ของคนไทยเอง<br /> • ได้รับการถ่ายทอดความรู้จากผู้เชี่ยวชาญ นักออกแบบและวิศวกร ผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศระดับสากลชั้นนำ มาถ่ายทอดความรู้ ทำงานร่วมกับวิศวกรไทยตั้งแต่ขั้นตอนการทำรถต้นแบบ, การวางแผนโครงสร้างรถ, เทคนิคการทำรถต้นแบบ, การออกแบบชิ้นส่วนต่าง ๆ เทคนิคการผลิต และการทดสอบ<br /> • ช่วยยกระดับความสามารถของวิศวกรและนักออกแบบของไทยให้สามารถพัฒนาขีดความสามารถไปสู่การออกแบบรถรุ่นต่าง ๆ ได้ด้วยตนเอง<br /> • สามารถต่อยอดไปสู่การผลิตรถยนต์ประเภทต่าง ๆ ในอนาคต เช่น รถยนต์ที่ใช้พลังงานไฟฟ้า (EV), รถมินิบัส, รถ special purpose, รถทางการทหาร เป็นต้น<br /> • ช่วยให้ประเทศไทยสามารถพึ่งพาตนเองได้ มีองค์ความรู้ที่ครบถ้วนในการออกแบบและผลิตรถยนต์ของตนเองได้<br /> • เกิดความร่วมมือกันในหมู่ผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ของคนไทยกว่า 30 บริษัทในการพัฒนาชิ้นส่วนต่าง ๆ เพื่อผลิตรถยนต์ของคนไทย ทำให้ผู้ผลิตชิ้นส่วนเหล่านี้ได้มีโอกาส ออกแบบคิดค้นและพัฒนาชิ้นส่วนใหม่ๆ เพื่อใช้กับรถยนต์ของไทย เป็นการยกระดับความสามารถด้านงานวิจัยและพัฒนาไปด้วยกัน สร้างนวัตกรรมใหม่ๆ ร่วมกัน<br /> • สร้างชื่อเสียงให้กับประเทศชาติ ทำให้ต่างชาติได้เห็นถึงขีดความสามารถของคนไทย วิศวกรไทยและฝีมือของผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ไทย ที่สามารถสร้างรถยนต์แบรนด์ของคนไทยและส่งออกไปขายต่างประเทศได้