National Innovation Awards Winners

ผลงานที่ได้รับรางวัลนวัตกรรมแห่งชาติ

Back
National Innovation Award 2559

รางวัลชนะเลิศ ด้านเศรษฐกิจ ประจำปี 2559

โครงการนวัตกรรม
ไข่ออกแบบได้
ผู้เสนอผลงาน
น.สพ.กิตติ ทรัพย์ชูกุล และ ดร.กิตติวุฒิ เกษมวงศ์
บริษัท คลีน กรีนเทค จำกัด
ความเป็นนวัตกรรม

ผลิตภัณฑ์ไข่ออกแบบได้เป็นนวัตกรรมระดับโลก เป็นนวัตกรรมที่สร้างระบบ ( System ) และการปฏิรูป ( Revolution ) ที่ทำให้ธุรกิจเกษตรและอาหารเปลี่ยนแปลงไป โดยสร้างระบบการประยุกต์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ทางการแพทย์ วิทยาศาสตร์การเกษตร นาโนเทคโนโลยี การวิจัยตลาด และการทำตลาดแบบ Social Business โดยมีโจทย์การทำงานที่ชัดเจนเพื่อสร้างความมั่นคงใน 3 เสาหลัก คือ 1 ผลิตภัณฑ์เพื่อเกษตรกรมั่นคงเข้มแข็ง นวัตกรรมไข่ออกแบบได้ช่วยพัฒนาผลผลิตไข่ให้มีมูลค่าเพิ่มขึ้น ตรงตามความต้องการของตลาด ช่วยเพิ่มความสามารถในการแข่งขันให้กับเกษตรกร ในภาวการณ์คุกคามด้านราคาสินค้าเกษตรตกต่ำและมาตรฐานสินค้าที่สูงขึ้น 2 ผลิตภัณฑ์ทดแทนยาปฎิชีวนะ เป็นทิศทางสำคัญของการผลิตปศุสัตว์ของโลก พร้อมสร้างสุขอนามัย ความปลอดภัยและสวัสดิภาพสัตว์ ให้สัตว์แข็งแรง ปลอดภัย ปลอดสารปฏิชีวนะและสารตกค้าง 3 ผู้บริโภคต้องปลอดภัย ได้บริโภคสินค้าที่ดีมีคุณภาพ บริโภคไข่ที่มีคุณภาพ มาตรฐานและเป็นไข่เสริมสุขภาพ คุ้มค่าค่าใช้จ่าย ความคิดสร้างสรรค์ของผลงานไข่ออกแบบได้ ได้พัฒนาจากความต้องการของผู้ผลิตและผู้บริโภค เป็นเครื่องมือสำคัญในการพัฒนาตลาดให้เติบโตอย่างมีศักยภาพและเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายผู้บริโภคทั่วโลก • ไข่ไก่เป็นสินค้าของชนทุกชั้น ทุกศาสนา และทุกเพศ วัย ผูกพันกับชีวิตประจำวันของมนุษยชาติ (Food and Agricultural Organization : FAO) ตัวเลขล่าสุดปี 2554 ผลผลิตไข่ไก่ทั้งโลก อยู่ที่ 1.2 ล้านล้านฟอง หรือคิดน้ำหนักเป็นประมาณ 65 ล้านตัน ไข่ไก่ที่วางจำหน่ายนั้นมีหลายประเภทเพื่อเป็นทางเลือกให้กับผู้บริโภค ได้แก่ ไข่ไก่อินทรีย์ ไข่ไก่อนามัย ไข่ไก่ทั่วๆ ไป และไข่ไก่สุขภาพ (Functional eggs) หากประเทศไทยมีเทคโนโลยีทำให้เกษตรกรผลิตสินค้าไข่ที่มีคุณภาพ มีมาตรฐาน สามารถเพิ่มคุณค่าอาหารในไข่ไก่ตอบโจทย์ผู้บริโภคได้ และลงทุนต่ำ การออกแบบไข่จึงจำเป็นต้องมีการวางกลยุทธ์เพื่อให้มีการผลิตไข่ไก่ที่ตอบสนองต่อความต้องการของผู้บริโภคมากขึ้น • นวัตกรรมไข่ออกแบบได้ที่สร้างสรรค์ขึ้น เป็นนวัตกรรมที่ศึกษาสรีรวิทยาของไก่ โดยเป็นสัตว์ที่มีลำไส้สั้น กินเร็ว ขับถ่ายเร็ว หากกินอาหารที่ต้องใช้เวลาแตกตัวดูดซึมมากก็จะดูดซึมไม่ทันไก่ที่มีขนาดสั้นดังนั้นต้องเพิ่มความสามารถในการนำพาสารสกัดสมุนไพรที่จะนำมาใช้ทดแทนยาปฏิชีวนะอย่างน้ำมันโหระพา และน้ำมันออริกาโน รวมไปถึงแร่ธาตุ สารอาหารที่มีผลต่อการพัฒนาระบบลำไส้สัตว์ปีก (Gut Health) ด้วยนวัตกรรมคีเลชั่นพัฒนาแร่ธาตุที่สำคัญที่ช่วยเรื่องการสร้างเปลือกไข่และเสริมคุณค่าอาหารให้อยู่ในรูปของคีเลท ที่เป็นการทำให้แร่ธาตุแตกตัวอยู่ในรูปของอะตอม และจับกันด้วยโมเลกุลเปปไทด์ที่สามารถละลายน้ำและดูดซึมไปใช้ได้โดยง่ายไปสู่อวัยวะเป้าหมายโดยตรง และการปรับปรุงโภชนาการและคุณภาพของไก่อย่างมีคุณภาพเพื่อให้ได้ไข่ไก่ที่สมบูรณ์แบบ เปลี่ยนโครงสร้างของคุณค่าสารอาหารให้อยู่ในโครงสร้างที่มีการดูดซึมได้ดี และต้องส่งผลที่ดีต่อร่างกายสัตว์ ได้ผลผลิตไข่คุณภาพมาตรฐานเกรด AA มีเปลือกไข่ที่แข็งแรง ไข่ขาวเป็นวงชัด และสามารถเพิ่มคุณค่าอาหารตรงตามความต้องการของผู้บริโภคและผลผลิตที่ออกมา • การออกแบบเทคโนโลยีการนำพา (Unique Target Delivery system) ใช้นาโนเทคโนโลยีทำให้น้ำมันนำส่งด้วยสื่อระดับอนุภาคนาโนที่มีความคงตัว ทนทานต่อกรด แทนที่จะเป็นหยดน้ำมัน หรือก้อนธาตุขนาดใหญ่ซึ่งต้องใช้เวลาแตกตัวนาน แถมยังดูดซึมยาก จนอาจไม่คุ้มประโยชน์ การนำเทคนิคนาโนเอนแคปซูเลชัน (Nanoencapsulation) มาประยุกต์ใช้กับน้ำมันออริกาโนในรูปแบบการเคลือบเป็นถุงขนาดเล็กๆ เพื่อไม่ให้ส่งกลิ่น เนื่องจากมีผลวิจัยที่ได้ยอมรับในวงกว้างว่า น้ำมันออริกาโนทำให้ไก่ลำไส้สะอาด ผลผลิตไข่ที่ได้มีความสดขึ้น ทว่ามีกลิ่นรุนแรง หากนำไปผสมกับอาหารจะทำให้ไก่ไม่กินอาหาร ซึ่งเมื่อนำเทคนิคดังกล่าวมาใช้จะช่วยทำให้ไก่ไม่ได้กลิ่นน้ำมันออริกาโนและยอมกินอาหาร เป็นผลให้ไข่ที่ได้มีความสดใหม่มากกว่าเดิม 40% ซึ่งทำให้เกษตรกรขายไข่ไก่ได้ราคาสูงขึ้นกว่าปกติ 20-40% และทำให้ไข่มีคะแนนความสดมากขึ้นซึ่งมีผลต่อราคาขายที่ดีขึ้นและที่สำคัญเทคโนโลยีนาโนเอนแคปซูเลชันยังทำให้อาหารกระจายตัวได้ดีในรูปแบบของหยดน้ำมัน (self-emulsifiered oil) ไม่กระจุกอยู่บริเวณใดบริเวณหนึ่ง และยังสามารถประยุกต์เทคโนโลยีนี้ไปใช้ได้ทั้งในระบบการให้อาหารและระบบการให้น้ำในฟาร์มไก่ได้ด้วย

ประโยชน์ด้านเศรษฐกิจ

1. เกษตรกรมีรายได้มากขึ้น <br /> 1.1 จากตัวอย่างของเกษตรกรสหกรณ์ผู้เลี้ยงไก่ไข่ลุ่มแม่น้ำน้อย ผลิตไข่ที่มีคุณภาพแตกต่าง เป็นที่ชื่นชอบของตลาดเบเกอรี่ สามารถส่งไข่ขายให้กับโรงงานทำขนมเอกชัยได้ทุกวัน โดยทำสัญญาส่งมอบต่อเนื่อง<br /> 1.2 KCF ใช้ผลิตภัณฑ์ดีไซเนอร์ 8 แก้ปัญหาไข่สกปรก และเปลือกไข่ร้าว สร้างการยอมรับตราสินค้า ลดการส่งคืนสินค้า และทำให้สินค้าขายได้ง่ายขึ้น<br /> 1.3 สหกรณ์ผู้เลี้ยงไก่ไข่ เชียงใหม่ ลำพูน ผลิตไข่อนามัย และสามารถทำแบรนด์สินค้าของตนเองได้<br /> 2. ผลิตภัณฑ์ดีไซเนอร์ 8 สามารถนำผลิตภัณฑ์สมุนไพรมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยมูลค่าตลาดของผลิตภัณฑ์มีมูลค่า 1,500 ล้านบาท โดยมีตลาดเป้าหมายคือ<br /> 2.1 ตลาดสินค้าการปรับปรุงคุณภาพไข่มีมูลค่าตลาด 715 ล้านบาท โดยแบ่งเป็น<br /> • ตลาดไข่ทั่วไป มีสัดส่วน 95% ของตลาดไข่ทั้งหมด เกษตรกรลงทุนใช้สินค้านี้ 0.03 บาท/ฟอง จะมีมูลค่าตลาด 400 ล้านบาท<br /> • ตลาดไข่เพื่อสุขภาพมี 5% ของมูลค่าตลาด เกษตรกรลงทุนเพื่อปรับปรุงคุณค่าอาหาร 0.45 บาท/ฟอง จะมีมูลค่าตลาด 315 ล้านบาท<br /> 2.2 ตลาดต่อเนื่องจากการขยายผลการพัฒนาเทคโนโลยีการนำพา สามารถต่อยอดสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ได้ มีมูลค่าเพิ่มรวม 815 ล้านบาท โดยแบ่งเป็น<br /> • ตลาดยาละลายน้ำ ปรับปรุงคุณภาพ 115 ล้านบาท<br /> • ตลาดสินค้าทดแทนยาปฏิชีวนะ ผสมอาหาร 700 ล้านบาท<br /> <br /> ผลิตภัณฑ์ไข่ออกแบบเป็นตัวอย่างการพัฒนาที่สอดรับทิศทางการพัฒนาประเทศคือ <br /> 1) ช่วยการปรับตัวของผู้ประกอบการให้มีคุณภาพตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์จากฟาร์มถึงโต๊ะอาหาร<br /> 2) ผลิตภัณฑ์ไข่ไก่ จะปรับเปลี่ยนจากสินค้าโภคภัณฑ์สู่ตราผลิตภัณฑ์ ดังนั้นผู้ประกอบการต้องสร้างแบรนด์ของตนเอง<br /> 3) ผู้บริโภคจะเลือกซื้อไข่ที่มีคุณภาพ ราคายุติธรรม ดังนั้นหากต้นทุนการผลิตสูงฟาร์มจะไม่ใช้ จากการสำรวจจุดยอมรับได้ คือ 3 สตางค์ต่อฟองเท่านั้น ดังนั้นการปรับปรุงประสิทธิภาพต้องลงทุน ไม่เกิน 3 สตางค์ต่อฟอง<br /> 4) การพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่มีเอกลักษณ์ โดดเด่นให้กับลูกค้าเป้าหมาย สามารถตอบสนองความต้องการของทุกฝ่ายได้ Create value for customersคือ<br /> • ผู้บริโภคได้รับคุณค่าอาหารมากขึ้น<br /> • ผลิตภัณฑ์ปลอดภัยต่อสัตว์และสิ่งแวดล้อม <br /> • เป็นเครื่องมือสร้างตราผลิตภัณฑ์ให้กับเกษตรกร<br /> 5) ด้านราคา การควบคุมต้นทุนให้ต่ำที่สุดโดยการคัดเลือกวัตถุดิบที่ราคาต่ำแต่ให้ประโยชน์สูงสุดมาใช้ ( Cost Leadership ) ผลิตภัณฑ์เพื่อปรับปรุงคุณภาพลูกค้าจะใช้ต่อเนื่อง<br /> 6) Specific Target Segmentation เริ่มต้นที่กลุ่มสหกรณ์ ฟาร์มครบงงจรที่ต้องการสร้างระบบการดำเนินธุรกิจแบบครบวงจรจากฟาร์มสู่ผู้บริโภค ทดแทนการขายไข่หน้าฟาร์มแก่พ่อค้าคนกลาง