National Innovation Awards Winners

ผลงานที่ได้รับรางวัลนวัตกรรมแห่งชาติ

Back
National Innovation Award 2018

รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม ประจำปี 2018

โครงการนวัตกรรม
Patrol Gun Boat - H.T.M.S LAEMSING
ผู้เสนอผลงาน
Mr. Patrawin Chongvisal
บริษัท มาร์ซัน จำกัด
ความเป็นนวัตกรรม

เรือตรวจการณ์ปืน ขนาดความยาว58เมตร เรือหลวงแหลมสิงห์ เป็นเรือตรวจการณ์ปืนลำแรกและลำเดียวที่ออกแบบและต่อสร้างโดยคนไทย เป็นโครงการที่จัดทำขึ้นเพื่อเป็นการดำเนินการตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง และการพึ่งพาตนเอง กับเป็นการพัฒนาขีดความสามารถของ กรมอู่ทหารเรือ ในการต่อเรือตรวจการณ์ปืน หลังจากที่ประสบความสำเร็จในการต่อเรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่งชุด เรือ ต.991 และนำไปสู่การปรับปรุงเรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่งชุด เรือ ต.994 ที่ได้มีการขยายแบบเรือ และรูปทรง ตามพระบรมราชวินิจฉัย กองทัพเรือ ได้จัดหาเรือตรวจการณ์ปืนลำใหม่ของกองทัพเรือในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อทดแทนเรือตรวจการณ์ระยะปานกลางตามยุทธศาสตร์กองทัพเรือ พ.ศ.2551 – 2560 ซึ่งได้ทยอยปลดประจำการ และใช้ปฏิบัติงานร่วมกับเรือ อากาศนาวี หน่วยกำลังต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง หน่วยกำลังนาวิกโยธิน และหน่วยสงครามพิเศษทางเรือ ตั้งแต่ในภาวะปกติ โดยมีขีดความสามารถปฏิบัติการรบ 2 มิติ ได้แก่ การปฏิบัติการสงครามผิวน้ำ และการต่อสู้ภัยคุกคามทางอากาศ โดย กองทัพเรือ ได้จัดซื้อแบบแปลนรายละเอียดและพัสดุ สำหรับการสร้างเรือตรวจการณ์ปืน จากบริษัท มาร์ซัน จำกัด ในลักษณะ Package Deal ทั้งนี้ กองทัพเรือ ได้มอบหมายให้ กรมอู่ทหารเรือ เป็นหน่วยรับผิดชอบในการสร้างเรือ โดยใช้พื้นที่ของ อู่ทหารเรือธนบุรี และอู่ทหารเรือพระจุลจอมเกล้า (อจปร.อร.) เป็นสถานที่ต่อเรือ เรือตรวจการณ์ปืน ชุดเรือหลวงแหลมสิงห์นี้ ถูกออกแบบโดย บริษัท มาร์ซัน จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทของคนไทย ภายใต้การดำเนินกิจการที่มุ่งเน้นว่าเราคือ “อู่ต่อเรือของคนไทย เพื่อสังคมไทย” ซึ่งแสดงให้เห็นว่าเรือหลวงแหลมสิงห์ถูกออกแบบโดยคนไทย 100% ถือเป็นความภาคภูมิใจของคนในชาติที่สามารถออกแบบและต่อสร้างเองได้เองซึ่งเป็นไปตามมาตรฐานของสมาคมจัดชั้นเรือ (Classification Society) ที่เป็นสมาชิกของ IACS (International Association of Classification Societies) มาตรฐานของกองทัพเรือประเทศสหรัฐอเมริกา (U.S. Navy Criteria) หรือองค์กรทางทะเลระหว่างประเทศ (International Maritime Organization: IMO) แสดงถึงขีดความสามารถในการพึ่งพาตนเองของกองทัพเรือและคนไทยซึ่งเป็นไปตามตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง เรือตรวจการณ์ปืน ชุดเรือหลวงแหลมสิงห์นี้ ถูกออกแบบตามภารกิจและความต้องการของกองทัพเรือ ซึ่งทุกส่วนของเรือรวมถึงอุปกรณ์ที่ติดตั้งภายในเรือถูกใช้งานตามภารกิจได้อย่างคุ้มค่า นับว่าเป็นความคิดสร้างสรรค์ที่ถูกต่อยอดจากองค์ความรู้ที่ บริษัท มาร์ซัน จำกัด ที่สั่งสมมาตลอด 38 ปี ตัวเรือถูกออกแบบอย่างประณีตโดยใช้หลักวิชาชีพวิศวกรรมต่อเรือและเครื่องกลเรือ (Naval Architecture and Marine Engineering) โดยเป็นแบบรูปทรงตัวเรือที่ออกแบบใหม่ และมีการทดลองแบบเรือจำลอง (Model Test) ซึ่งประกอบด้วย Model Test, Sea keeping, Maneuvering Test โดยสถาบันทดสอบทดลองที่เป็นสมาชิกของ ITTC (International Towing Tank Conference) โครงสร้างตัวเรือถูกออกแบบให้มีความคงทนทางทะเลตามสัญญาที่ Sea State 4 แต่ตามการออกแบบสามารถใช้งานได้ถึง Sea State 5 ตัวเรือถูกออกแบบให้มีฝากั้นกันน้ำ (Hull Structural Bulkhead) จำนวน 8 ฝากั้น โดยแบ่งตัวเรือออกเป็นทั้งหมด 9 ส่วน (9 Flooding Compartments) บางส่วนสามารถเดินผ่านโดยใช้ประตูชนิดผนึกน้ำ (Watertight Doors) ซึ่งส่งผลให้หากเกิดอุบัติเหตุการชนกันระหว่างเรือกับเรือ หรือประสบภัยธรรมชาติที่ส่งผลตัวเรือเกิดการเสียหายกระทั่งน้ำทะเลสามารถรั่วซึมเข้าภายในตัวเรือได้ น้ำทะเลจะไม่สามารถผ่านฝากั้นกันน้ำไปถึงส่วนอื่นๆ ที่ไม่ได้รับความเสียหาย ส่งผลให้เรือยังคงสถาพลอยตัวอยู่ได้ไม่อับปางลง ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่รักษาชีวิตของลูกเรือ ผู้โดยสาร รวมถึงอุปกรณ์ที่ติดตั้งและพัสดุต่างๆ บนเรือ อีกทั้งยังให้มีการออกแบบให้เครื่องจักรและอุปกรณ์ต่างๆ ติดตั้งบนอุปกรณ์รองรับการสั่นสะเทือนรวมถึงการป้องกันการรบกวนจากคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าด้วย ภายในตัวเรือส่วนของห้องต่างๆ ได้แก่ ห้องเครื่องจักรใหญ่และระบบขับเคลื่อน ห้องระบบไฟฟ้าและระบบช่วยเหลืออื่นๆ และห้องสำหรับภารกิจทางการทหาร ออกแบบตามหลักวิศวกรรมโดยมุ่งเน้นที่ความแข็งแรงและความปลอดภัย รวมถึงตอบสนองการใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด ส่วนของห้องพักอาศัยและสิ่งอำนวยความสะดวกถูกออกแบบให้มีความเหมาะสมกับภารกิจ การเลือกใช้วัสดุต่างๆ เพื่อความเรียบร้อยสวยงาม ถือเป็นการประยุกต์ใช้ความรู้ที่มีอย่างสร้างสรรค์ ก่อให้เกิดผลงานการออกแบบที่ดีที่สุด ในส่วนของระบบขับเคลื่อน ประกอบด้วยเครื่องจักรใหญ่ดีเซลเรือ (Marine Diesel Engine) ขับเพลาใบจักรโดยผ่านคัปปลิ้ง (Coupling) และเกียร์ทดรอบ จำนวน 3 ชุดเครื่อง ระบบขับเคลื่อนแต่ละชุดสามารถแยกการทำงานได้อิสระ และมีขีดความสามารถในการขับเคลื่อนต่อเนื่องด้วยระบบขับเคลื่อนเพียง 1 ชุดโดยไม่มีผลกระทบต่อระบบขับเคลื่อนที่เหลือ ชุดระบบขับเคลื่อนกลางลำออกแบบให้ใช้ใบจักรแบบปรับพิทช์ได้ (Controllable Pitch Propeller, CPP) สามารถขับเคลื่อนได้ด้วยเพลากลางเพลาเดียวด้วยความเร็วสูงสุดที่ 16 นอต ทำให้ประหยัดเชื้อเพลิงในการลาดตระเวนที่ความเร็วต่ำ ส่งผลให้ได้สมรรถนะสูงสุดในขณะที่ประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิงสูงสุด ส่วนของห้องเครื่องจักรใหญ่และเครื่องกำเนิดไฟฟ้าถูกออกแบบโดยคำนึงถึงการใช้งานในสถาวะฉุกเฉินโดยให้แยกห้องเป็นสองส่วนเพื่อให้สามารถทำงานทดแทนกันได้ในกรณีที่ได้รับความเสียหายทำให้ห้องใดห้องหนึ่งไม่สามารถใช้การได้ ในส่วนของระบบอาวุธ กองทัพเรือ และบริษัทฯ ได้ร่วมกันออกแบบให้เหมาะสมตามความต้องการในการใช้งาน และความปลอดภัยเป็นหลัก โดยเรือตรวจการณ์ปืน ชุดเรือหลวงแหลมสิงห์นี้ ถูกออกแบบให้มีระบบอำนวยการรบและระบบควบคุมการยิง(Combat Management System and Fire Control System) มีขีดความสามารถในการป้องกันตนเองจากข้าศึก โดยส่วนหัวเรือออกแบบให้สามารถติดตั้งปืนหลักขนาด 72/62 มม. ตราอักษร OTO - MELERA พร้อมระบบควบคุมการยิง ตราอักษร THALES รุ่น MIRADOR จำนวน 1 ชุด ด้านท้ายเรือติดตั้งปืนกลขนาด 30 มม. ตราอักษร MSI จำนวน 1 ชุด และบริเวณกราบซ้าย-ขวา ติดตั้งปืนกลขนาด .50 นิ้ว จำนวน 2 ชุด ซึ่งการออกแบบคำนึงถึงความแข็งแรงของดาดฟ้าหลักเพียงพอที่จะสามารถรองรับน้ำหนักและแรงกระทำของปืนเนื่องจากการยิงได้ ถือเป็นความท้าทายสำหรับการออกแบบเพื่อความปลอดภัยในการใช้งานและตอบสนองความต้องการของกองทัพเรือ

ประโยชน์ด้านสังคม

เนื่องจากเรือตรวจการณ์ปืน เรือหลวงแหลมสิงห์ มีภารกิจในการคุ้มครองเรือประมงและเรือพานิชย์ ป้องกันและคุ้มครองทรัพยากรธรรมชาติบริเวณชายฝั่งทะเลในอ่าวไทยและทะเลอันดามัน รักษากฎหมายในทะเลตามอำนาจหน้าที่ที่กองทัพเรือได้รับมอบหมาย จึงได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่ในการช่วยเหลือประชาชนทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศที่เดินทางมาประเทศไทยอยู่บ่อยครั้ง ทั้งอำนวยความสะดวกและช่วยเหลือผู้ประสบภัย รวมถึงการตรวจจับเรือประมงที่กระทำการบรรทุกสิ่งผิดกฎหมายด้วย ทำให้ลูกหลานของเรารอดพ้นจากสิ่งผิดกฎหมายทั้งหลายเนื่องจากสิ่งของเหล่านั้นไม่สามารถเข้าสู่ฝั่งได้ อีกทั้งยังได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติภารกิจที่สำคัญอื่นๆ ได้แก่<br /> - หมู่เรือรักษาการณ์ไกลกังวล<br /> - การฝึกองค์บุคคลและองค์ยุทธวิธีกองเรือตรวจอ่าว<br /> - การสนับสนุนการฝึกหลักสูตรต้นปืน<br /> - การสนับสนุนการฝึกหลักสูตรยุทธวิธีเรือผิวน้ำ<br /> - การฝึกทบทวนเพื่อปฏิบัติราชการหมวดเรือลาดตระเวนชายแดน ส่วนที่ 1<br /> - หมวดเรือลาดตระเวนชายแดนส่วนที่ 1 <br /> - การตรวจเรือพร้อมรบสูงสุด และได้รับรางวัลชนะเลิศ สาขา รบผิวน้ำ และป้องกันความเสียหาย<br /> - การฝึกทบทวนเพื่อปฏิบัติราชการหมวดเรือลาดตระเวนภาคใต้ (มรต.)<br /> - หมวดเรือเฉพาะกิจเพื่อแก้ไขปัญหาการทำประมงผิดกฎหมาย ทัพเรือภาคที่ 1<br /> - หมวดเรือลาดตระเวนภาคใต้ ทัพเรือภาคที่ 2 (ส่วนหน้า)<br /> - เรือ Security งานมหกรรมทางเรือนานาชาติ ในโอกาสครบรอบ 50 ปี อาเซียน<br /> อาจกล่าวได้ว่า ภารกิจของเรือตรวจการณ์ปืน เรือหลวงแหลมสิงห์ที่ผ่านมา ได้ปฏิบัติภารกิจในส่วนการรักษาความมั่นคงของประเทศ รักษาผลประโยชน์ของชาติ ช่วยเหลือและบรรเทาสาธารณภัย ซึ่งถือว่าเกิดประโยชน์ของผลงานด้านสังคมเป็นอย่างยิ่ง