National Innovation Awards Winners

ผลงานที่ได้รับรางวัลนวัตกรรมแห่งชาติ

Back
National Innovation Award 2016

รางวัลชมเชย ด้านเศรษฐกิจ ประจำปี 2016

โครงการนวัตกรรม
Portable Shrimp Counter Machine
ผู้เสนอผลงาน
Mr. Assadawut Thawronprom
บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน)
ความเป็นนวัตกรรม

ลูกกุ้ง เป็นสัตว์เศรษฐกิจที่เกษตรกรไทยมีความต้องการปริมาณมากเพื่อสร้างผลผลิตกุ้งเนื้อป้อนสู่ตลาดและอุตสาหกรรมอาหารแปรรูปทั้งในประเทศและต่างประเทศ ดังนั้นโรงเพาะฟักลูกกุ้งเป็นต้นน้ำสำคัญ ที่ต้องเพิ่มประสิทธิภาพกำลังการผลิตลูกกุ้งเพื่อตอบสนองความต้องการของเกษตรกร ให้ได้ทั้งปริมาณและคุณภาพที่ดีอย่างสม่ำเสมอ สำหรับการอนุบาลลูกกุ้งในบ่อเพาะเลี้ยงตลอดขบวนการผลิต จำเป็นต้องทราบจำนวนและความหนาแน่นที่ถูกต้อง เพื่อง่ายต่อการบริหารจัดการด้านต่าง ๆ เช่น ปริมาณการให้อาหาร การถ่ายน้ำ และใช้เป็นข้อมูลสำหรับการประเมินยอดผลผลิต ความถี่ในการสุ่มนับสัปดาห์ละ 4 ครั้ง (อายุลูกกุ้งที่เพาะเลี้ยงไม่เกิน 23 วัน) โดยจะต้องสุ่มนับจำนวนในบ่อเลี้ยงมากกว่า 100 บ่อ/โรงเพาะฟัก นอกจากนี้ ณ วันส่งมอบลูกกุ้งให้กับเกษตรกร จะต้องมีการตรวจนับจำนวนในถังขนส่ง เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับเกษตรกร ที่จะได้จำนวนลูกกุ้งครบตามคำสั่งซื้อ โดยบุคลากรจะทำหน้าที่เป็นผู้สุ่มนับลูกกุ้งในถังขนส่งทุกคันรถ วิธีการสุ่มจะสุ่มปริมาตรน้ำ 1 ลิตร/ตัวอย่าง (ลูกกุ้ง 500 – 1,000 ตัว) ใช้เวลาในการนับจำนวนเฉลี่ย 10 นาที/ตัวอย่าง ในหนึ่งวันต้องสุ่มนับลูกกุ้งประมาณ 500 ตัวอย่าง แต่เนื่องจากลูกกุ้งมีขนาดเล็กและลำตัวค่อนข้างใส (โดยเฉพาะลูกกุ้งขาวแวนาไม) ในการนับจำนวนด้วยบุคลากรมักทำให้เกิดความผิดพลาดสูง เนื่องจากเกิดความเมื่อยล้าทางร่างกายหรืออารมณ์จากการทำงาน อันเป็นสาเหตุที่ก่อให้เกิดโรคจากการทำงาน จากปัญหาข้างต้น ทีมงานจึงได้คิดค้นพัฒนาเทคโนโลยี “ เครื่องนับลูกกุ้งแบบพกพา” อันเป็นนวัตกรรมใหม่สำหรับการนับจำนวนเข้ามาช่วยบุคลากรที่ทำหน้าที่ในการนับจำนวนลูกกุ้ง ได้สะดวกรวดเร็ว โดยใช้กล้องดิจิตอลอัตโนมัติบันทึกภาพแบบ VDO Real time และประมวลผลผ่านโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ใช้เวลานับอันรวดเร็วและมีความแม่นยำสูง การนับจำนวนไม่มีผลกระทบหรือความผิดพลาดจากความเมื่อยล้าของบุคลากร และเครื่องนับลูกกุ้งแบบพกพาสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการนับจำนวนลูกพันธุ์สัตว์น้ำเศรษฐกิจอื่น ๆ ของประเทศได้อีกด้วย เช่น นับจำนวนลูกพันธุ์ปลา เป็นต้น

ประโยชน์ด้านเศรษฐกิจ

1. สร้างรายได้จากการคิดค้นนวัตกรรมใหม่ๆ ด้วยแนวความคิดของคนไทย และก่อให้เกิดการสร้างทรัพย์สินทางปัญญา<br /> 2. ในปี พ.ศ 2559 สามรถลดการนำเข้าเทคโนโลยีเครื่องตรวจนับจากต่างประเทศได้ 11,760,000 บาท <br /> ที่มา : คิดจากยอดซื้อและยอดสั่งจองของเครื่องนับลูกกุ้งแบบพกพา ในปี พ.ศ 2559 จำนวน 21 เครื่อง โดยราคาที่สั่งนำเข้าจากต่างประเทศเครื่องละ 750,000 บาท ถ้าคิดมูลค่าที่นำเข้า เท่ากับ 21 x 750,000 = 15,750,000 บาท <br /> เครื่องนับลูกกุ้งแบบพกพา เครื่องละ 190,000 บาท คิดมูลค่า เท่ากับ 21 x 190,000 = 3,990,000 บาท <br /> ดังนั้นสามารถลดมูลค่าการนำเข้าในปี พ.ศ 2559 ได้เท่ากับ 15,750,000 – 3,990,000 = 11,760,000 บาท