National Innovation Awards Winners

ผลงานที่ได้รับรางวัลนวัตกรรมแห่งชาติ

Back
National Innovation Award 2020

รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม ประเภท หน่วยงานภาครัฐ (Government Sector) ประจำปี 2020

โครงการนวัตกรรม
Machine Development for Weaving and Pattern Recognition Semi Automatic
ผู้เสนอผลงาน
Kasorn Wongkasem
คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
อีเมล
kasorn.wong@msu.ac.th
เว็บไซต์
-
ความเป็นนวัตกรรม

ผ้ายกดอกถือเป็นศิลปะงานฝีมืออย่างหนึ่งที่มีมาตั้งแต่สมัยโบราณ ลวดลายงดงามเป็นงานหัตถกรรมที่ต้องอาศัยฝีมือและความรู้ความชำนาญของผู้ทอเป็นอย่างมาก ผ้ายกดอกมีลักษณะลวดลายที่นูนสูงขึ้นกว่าผืนผ้า เนื่องจากการทอมีความยาก ปัญหาที่มักเกิดขึ้นในการทอ คือ ผู้ทอมักกดตะกอผิดพลาด โดยทั่วไปการทอต้องใช้ผู้ทอ 2-3 คน สำหรับการทอผ้าหน้ากว้าง 105 เซนติเมตร จากการสำรวจข้อมูลพบว่า ในหนึ่งวันสามารถทอผ้ายกดอกได้ไม่เกิน 20 เซนติเมตร ดังนั้นจึงควรมีนวัตกรรมเพื่อช่วยในการทอเครื่องทอและจดจำลายผ้ากึ่งอัตโนมัตินำเทคโนโลยีมาประยุกต์ ให้คงเอกลักษณ์ความเป็นไทย
การทำงานของเครื่องประยุกต์ใช้ระบบควบคุมอัตโนมัติเพื่อควบคุมกลไกการดึงตะกอตามลายผ้าที่ถูกบรรจุไว้ในหน่วยความจำ User Interface ถูกพัฒนาเป็นภาษาไทยเพื่อประสานการทำงานระหว่างผู้ทอกับเครื่อง แสดงขั้นตอนการทอแบบเวลาจริงให้ผู้ทอเห็น ผู้ทอสามารถบรรจุลายผ้าใหม่ๆ ได้ผ่านหน้าจอชนิดสัมผัส ลายผ้าที่ทอได้ไม่มีข้อผิดพลาด นอกจากนั้นโครงกี่ออกแบบให้มีรูปลักษณ์ทันสมัยน่าใช้ สามารถปรับระดับการนั่งได้ตามสรีระผู้ทอ นวัตกรรมเครื่องทอช่วยจดจำลายผ้านี้ ช่วยเพิ่มมูลค่าและคุณค่าของผ้าทอทั้งคงคุณภาพของผ้าทอมือ ช่วยเพิ่มผลผลิต ทำให้ชุมชนมีรายได้มากขึ้น สร้างความภูมิใจ คนในชุมชนมีความกระตือรือร้นที่จะเรียนรู้และมาประชุมพบปะกันเพื่อคิดค้นลวดลายใหม่ๆ ให้เป็นอัตลักษณ์ของชุมชน และผู้ทอที่วัยสูงอายุสามารถทอผ้าได้ด้วยตัวเอง มีรายได้โดยไม่ต้องพึ่งพาลูกหลาน คนรุ่นใหม่ไม่ต้องไปทำงานที่ต่างถิ่น ซึ่งสอดคล้องกับศาสตร์พระราชาที่ต้องการให้ชุมชนเข้มแข็งพึ่งพาตัวเองได้