National Innovation Awards Winners

ผลงานที่ได้รับรางวัลนวัตกรรมแห่งชาติ

Back
National Innovation Award 2561

รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม ประจำปี 2561

โครงการนวัตกรรม
ทีบี ดี-เทค ผลิตภัณฑ์สำหรับการตรวจยีนของเชื้อวัณโรค
ผู้เสนอผลงาน
รศ.ดร.ธงชัย แก้วพินิจ
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
ความเป็นนวัตกรรม

การจะนำพาประเทศให้ไปสู่วิสัยทัศน์ประเทศไทย ๒๕๗๕ “มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน” นั้น จำเป็นต้อง ใช้ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิจัย พัฒนา และนวัตกรรม เป็นกลไกหลักในการขับเคลื่อนให้ประเทศไทยไปสู่ ประเทศที่สร้างสังคมบนเศรษฐกิจฐานความรู้ควบคู่ไปกับเศรษฐกิจฐานนวัตกรรม เพื่อสามารถก้าวข้ามผ่าน กับดักประเทศรายได้ปานกลาง (Middle Income Trap) สู่การเป็นประเทศโลกที่ ๑ ได้ ซึ่งในประเทศที่พัฒนาแล้ว ปัจจัยที่จำเป็นต่อการพัฒนาประเทศ การพัฒนาคุณภาพชีวิต และลดความเหลื่อมล้ำของประชากรโดยส่วนรวม นั้น คือ การมีฐานทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่เข้มแข็ง มีการนำเทคโนโลยีไปใช้ในการดำเนินชีวิต เพื่อประโยชน์ทางเศรษฐกิจ และสังคม สำหรับประเทศไทยที่ผ่านมานั้น พบว่า ระบบบริหารจัดการวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิจัย พัฒนา และนวัตกรรมของไทย ยังมีความอ่อนแอ โครงสร้างองค์กรโดยเฉพาะในระบบวิจัยปัจจุบันของประเทศ มีการบริหารจัดการไม่เป็นเอกภาพ ขาดประสิทธิภาพ ขาดการบูรณาการ ขาดกลไกการประสานเครือข่าย ความร่วมมือในทุกภาคส่วน องค์กรที่เกี่ยวข้องมีภารกิจซ้ำซ้อน และไม่มีการทำงานหรือหน่วยงานที่เชื่อมการ ทำงานระหว่างองค์กร ขาดการเชื่อมโยงระหว่างภาครัฐ เอกชน และชุมชน และที่สำคัญยังขาดองค์กรในระดับ ที่จะนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์อย่างเป็นรูปธรรม และเพียงพอ ซึ่งทำให้ประเทศชาติยังขาดหน่วยงานที่ ผลักดันการนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์พัฒนาเป็นเทคโนโลยีและสร้างนวัตกรรมเพื่อนำไปใช้ในการพัฒนาประเทศ นอกจากนั้น ประเทศยังขาดทิศทางการลงทุนเพื่อการวิจัย วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมที่สอดคล้องกับการพัฒนาประเทศและความต้องการของภาคการผลิต และแนวทางการพัฒนา ชุมชนสังคมให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน ขาดนโยบายในการส่งเสริมพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิจัย พัฒนา และนวัตกรรม การลงทุนโครงสร้างพื้นฐานของระบบวิจัย วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีของประเทศ ยังไม่ คุ้มค่าและยังล้าสมัย ขาดนักวิจัยวิทยาศาสตร์ และบุคลากรที่เกี่ยวข้อง ทั้งปริมาณและคุณภาพ ตลอดจน การจัดสรรงบประมาณของประเทศที่ไม่เอื้อต่อการลงทุนเพื่อการวิจัยและพัฒนา ซึ่งเป็นอุปสรรคสำคัญ ในการพัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้า ภาคการผลิตที่เป็นกลุ่มวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) มีข้อจำกัดในการเข้าถึงและนำความรู้ และเทคโนโลยีไปปรับใช้ อีกทั้งเทคโนโลยีหรือนวัตกรรมที่มี ยังไม่อยู่ในรูปแบบที่พร้อมใช้หรือเหมาะสมกับ สภาพของสังคม และเศรษฐกิจ ส่งผลให้ประเทศไทยไม่มีสมรรถนะและความสามารถที่เพียงพอในการพัฒนา หรือยกระดับกระบวนการผลิต การพัฒนาสินค้าให้มีความทันสมัย นอกจากนี้ สังคมไทย เป็นสังคมที่ขาดฐานการคิดแบบวิทยาศาสตร์ที่เป็นกระบวนการคิดอย่างมีเหตุผลในอันที่จะนำพาประเทศไปสู่ การมีวัฒนธรรมและสังคมฐานความรู้ ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญของการเปลี่ยนผ่านไปสู่ระบบสังคม เศรษฐกิจ ที่เติบโตอย่างยั่งยืน สภาวะการค้าและการตลาดของตลาดอุตสาหกรรมวัสดุอุปกรณ์ทางการแพทย์ของไทย นับตั้งแต่ปี 2553 - 2558 มีการขยายตัวเพิ่มขึ้นทุกปี โดยปี 2558 มีการขยายตัวเพิ่มขึ้นจากปี 2557 คิดเป็น 3.73% มูลค่ารวม 149.3 พันล้านบาท ตลาดการนำเข้าเพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ย 9.5% และตลาดส่งออกเพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ยปีละ 3.2% อย่างไรก็ตาม มูลค่าการส่งออกของไทยมากกว่านำเข้า 45.3% ซึ่งตลาดของทุกกลุ่มผลิตภัณฑ์มีการขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกปี โดยเฉลี่ยกลุ่มน้ำยาสำหรับตรวจ มีการขยายตัวของตลาดสูงที่สุด 9.7% รองลงมาคือกลุ่มครุภัณฑ์ และกลุ่มวัสดุสิ้นเปลืองฯ 7.7% และ 4.3% ตามลำดับ แต่วัสดุสิ้นเปลืองฯ เป็นกลุ่มผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าตลาดสูงที่สุด รองลงมาคือกลุ่มครุภัณฑ์ทางการแพทย์ และน้ำยาและชุดวินิจฉัยโรค คิดเป็น 101.5 และ 39 และ 8.8 พันล้านบาท หรือคิดเป็นสัดส่วน 68% 26.1% และ 5.9% ของมูลค่าตลาดทั้งหมด บริษัท ไบโอแอดแวนเทค จำกัด เป็นสถานประกอบการขนาดย่อมที่ได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีชุดตรวจวัณโรคจากมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เพื่อการผลิตเชิงพาณิชย์ ซึ่งวัณโรค หรือ tuberculosis เป็นโรคติดเชื้อที่เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของโลก มีสาเหตุมาจากเชื้อ Mycobacterium tuberculosis พบว่าหนึ่งในสามของประชากรโลก มีการติดเชื้อ M. tuberculosis ส่วนใหญ่พบในประเทศที่กำลังพัฒนา จากการรายงานขององค์การอนามัยโลกได้จัดกลุ่มประเทศที่มีภาวะวัณโรคสูง (High Burden Country Lists) เป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ 1) กลุ่มที่มีจำนวนและอัตราป่วยวัณโรคสูง (TB) 2) กลุ่มที่มีจำนวนและอัตราวัณโรคที่ติดเชื้อ HIV สูง (TB/HIV) และ 3) กลุ่มที่มีจำนวนและอัตราป่วยวัณโรคดื้อยาหลายขนานสูง (MDR-TB) ซึ่งประเทศไทยติดอันดับเป็น 1 ใน 14 ประเทศที่มีปัญหาวัณโรคสูงทั้ง 3 กลุ่มที่กล่าวมาข้างต้น โดยปีพ.ศ.2559 องค์การอนามัยโลกได้กำหนด ยุทธศาสตร์ยุติวัณโรค (The End TB Strategy) มีเป้าหมายลดอุบัติการณ์วัณโรค (Incidence) ให้ต่ำกว่า 10 ต่อแสนประชากรโลกภายในปีพ.ศ. 2578 (2035) ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขได้มีแผนยุทธศาสตร์วัณโรคระดับชาติพ.ศ. 2560 - 2564 เพื่อเป็นมาตรการหลักในการลดอุบัติการณ์ดังกล่าวข้างต้น ซึ่งจำเป็นต้อง (1) เร่งรัดการค้นหา วินิจฉัย และรายงานให้มีความครอบคลุมการรักษา (Treatment Coverage) ร้อยละ 90 ของจำนวนผู้ป่วยที่คาดประมาณจากอุบัติการณ์ (2) เร่งรัดการเข้าถึงบริการตรวจวินิจฉัยในประชากร กลุ่มเปราะบางและกลุ่มเสี่ยงวัณโรค เช่น ผู้สัมผัส ผู้ติดเชื้อ HIV ผู้ป่วยเบาหวาน และผู้ต้องขัง แรงงานข้ามชาติให้ ครอบคลุมร้อยละ 90 และ (3) ดูแลรักษาผู้ป่วยวัณโรคที่ตรวจพบทุกรายด้วยแนวทางการดูแลผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง (Patient center care )ให้มีอัตราความสำเร็จการรักษาไม่ต่ำกว่าร้อยละ 90 ซึ่งจะส่งผลให้อุบัติการณ์วัณโรคลดลงอย่างรวดเร็วสู่เป้าหมายยุติวัณโรคได้ ประเทศไทยมีผู้ป่วยวัณโรครายใหม่ประมาณ 120,000 ราย หรือคิดเป็น 172 ต่อประชากรแสนคน (WHO, Global TB Report 2016) การจะบรรลุเป้าหมายยุติวัณโรคนั้น ประเทศไทยต้องมีอัตราลดอุบัติการณ์เฉลี่ยร้อยละ 12.5 ต่อปี ในขณะที่ 15 ปีที่ผ่านมามีอัตราลดลงของอุบัติการณ์เพียงร้อยละ 2.7 ต่อปีจากผลการดำเนินงานวัณโรคที่ยังไม่บรรลุเป้าหมายสำคัญ เป็นผลจากการวินิจฉัยใช้เวลานาน และไม่ครอบคลุมทุกพื้นที่ทำให้เกิดการกระจายของโรคไปสู่ชุมชนต่างๆ ได้ง่าย ซึ่งการวินิจฉัยที่ถูกต้อง และรวดเร็วมีความสำคัญต่อการรักษา ดังนั้นจึงนำไปสู่การพัฒนาวิธีการวินิจฉัยใหม่ ที่ใช้เวลาน้อยลงและครอบคลุมกับยาที่ใช้วินิจฉัยเชื้อดื้อยา แต่ด้วยสถานประกอบการดังกล่าวมีข้อจำกัดในการเข้าถึง การนำความรู้ และเทคโนโลยีไปปรับใช้ เนื่องด้วยไม่ใช่นวัตกรรมที่ตนเองสร้างขึ้น อีกทั้งการให้สินค้าได้รับมาตรฐานด้วยการขอรับรองมาตรฐานสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา หน่วยห้องปฏิบัติการอ้างอิงวัณโรคแห่งชาติ สำนักวัณโรค กระทรวงสาธารณสุข หรือเครื่องหมาย CE กำกับบนสินค้าอันจะทำให้สินค้านั้นสามารถวางจำหน่าย และสามารถเคลื่อนย้ายได้อย่างเสรีในเขตเศรษฐกิจยุโรป

ประโยชน์ด้านสังคม

-อยู่ระหว่างการขอขึ้นทะเบียนบัญชีนวัตกรรมไทย เพื่อรองรับการใช้ประโยชน์ทั่วประเทศ<br /> - มีการใช้ประโยชน์ในโรงพยาบาลศรีนครินทร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น โรงพยาบาลสงฆ์ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 6 จังหวัดชลบุรี (สคร 6 ชลบุรี) สำนักวัณโรค และโรงพยาบาลอุ้งผาง ช่วยลดอัตราผู้ป่วยติดเชื้อ ทำให้คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยดีขึ้น<br /> - การได้รับมาตรฐานสากลเครื่องมือแพทย์ (ISO) ISO13845:2016 & EN ISO13845:2016 serial MD682112 และได้รับการทดสอบจากสำนักวัณโรค กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุขโดยได้รับผลการทดสอบว่ามีความถูกต้องในการตรวจยืนยันผล สามารถดำเนินการตรวจวินิจฉัยที่รวดเร็วได้อย่างเหมาะสม มีคุณภาพ มีความถูกต้อง แม่นยำ เป็นที่น่าเชื่อถือแก่แพทย์และผู้ป่วย ทั้งยังเป็นระบบและเป็นมาตรฐานเดียวกันทั่วประเทศ เป็นมาตรฐานสากล กรมควบคุมโรคโดยคณะกรรมการควบคุมแผนงานวัณโรคแห่งชาติ และสำนักระบาดวิทยา รวมทั้งวงการแพทย์จะมีวิธีการตรวจในการยืนยันผลการตรวจที่ใช้เวลาน้อยกว่าและราคาที่เข้าถึงได้ อันจะทำให้การควบคุมเชื้อวัณโรคทำได้มีประสิทธิภาพมากขึ้นอันนำไปสู่คุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของประชาชน