บริษัท วัลแคน โคอะลิชั่น ได้ตระหนักถึงปัญหาทั้งสองข้อ คือ 1) การว่างงานของคนพิการ ร่วมถึงการที่คนพิการไม่ได้รับโอกาสที่ได้ทำงานที่เหมาะกับพวกเค้าเหล่านั้น 2) ปัญหาการพัฒนาอุตสาหกรรมที่ใช้ปัญญาประดิษฐ์ (AI) ในไทยไม่สามารถแข่งขันกับต่างประเทศได้ ปัญหาหลักนี้มาจากต้นทุนที่สูงในการจัดเตรียมข้อมูล และการขาดแรงงานในการเตรียมข้อมูล (Data Labelling) ซึ่งเป็นส่วนที่สำคัญที่สุดในการพัฒนาอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับ AI ทั้งทางตรง และทางอ้อม ทางวัลแคนจึงได้คิดค้นเทคโนโลยีเฉพาะทางในการพัฒนาแพลตฟอร์มพิเศษตัวแรกของโลกเพื่อส่งเสริมการจ้างงานของคนพิการและพัฒนาอุตสาหกรรมปัญญาประดิษฐ์ของไทยไปพร้อม ๆ กัน โดยเบื้องต้น แพลตฟอร์มสามารถรองรับคนพิการคนไทยจำนวนกว่า 330,000 คนที่จะสามารถทำงานด้านการเตรียมข้อมูล (Data) เพื่อเพิ่มศักยภาพการจ้างงานของคนพิการเพื่อเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาอุตสาหกรรมปัญญาประดิษฐ์ (AI) ของประเทศไทยและขยายต่อไปต่างประเทศได้ จากการศึกษางานวิจัยต่างประเทศ พบว่าผู้พิการด้านต่าง ๆ มีความสามารถเหนือกว่าคนไม่พิการหลายเท่าในการพัฒนา AI เช่น คนพิการทางการมองเห็นสามารถประมวลเสียงได้รวดเร็วกว่าคนทั่วไป 2 เท่า คนหูหนวกสามารถประมวลการมองเห็นรอบนอก (Peripheral Vision) และการเคลื่อนไหว (Motion) ได้ดีกว่าคนทั่วไป หรือแม้กระทั่งคนออทิสติก ที่สามารถจดจำแพทเทร์นซ้ำ ๆ และรายละเอียดเล็ก ๆ โดยความจำระยะสั้น-ยาวได้ดีกว่าคนทั่วไป
โดยโมเดลการจ้างงานคนพิการที่ใช้กฎหมายตามมาตรา 35 การจ้างเหมาบริการ และการสร้างแพลตฟอร์มการจัดเตรียมข้อมูลที่ดึงศักยภาพของคนพิการแต่ละประเภทมาใช้ในการดำเนินงาน ส่งผลให้ Vulcan สามารถเตรียมข้อมูลจำนวนมากภายใต้เวลาที่จำกัด รวมถึงมีต้นทุนการจัดเตรียมข้อมูลที่ถูกกว่าผู้เล่นรายอื่นในตลาด และสามารถแข่งขันได้ โดยผู้ได้รับประโยชน์คือ ผู้พิการที่อยู่ในวัยทำงานที่ว่างงาน ร่วมถึงผู้พิการที่ได้รับผลกระทบจากโรคโควิท และบริษัทพัฒนาปัญญาประดิษฐ์หรือบริษัทด้านเทคโนโลยีทั้งในและต่างประเทศ