National Innovation Awards Winners

ผลงานที่ได้รับรางวัลนวัตกรรมแห่งชาติ

Back
National Innovation Award 2561

รางวัลชมเชย ด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม ประจำปี 2561

โครงการนวัตกรรม
วัสดุอ้างอิงเลือดครบส่วนสำหรับตรวจวัดน้ำตาลในเลือดด้วยเครื่องตรวจวัดเเบบพกพา
ผู้เสนอผลงาน
บุญชัย ตรีบุพชาติสกุล
บริษัท วี เมด เเล็บ เซ็นเตอร์ จำกัด
ความเป็นนวัตกรรม

วัสดุอ้างอิงเลือดครบส่วน คือ วัสดุที่มีคุณลักษณะเหมือนเลือดมนุษย์ผลิตด้วยกรรมวิธีที่คิดค้นขึ้นด้วยนักวิจัยของมหาวิทยาลัยนเรศวรทำให้มีความคงตัวของระดับน้ำตาลกลูโคสในวัสดุเลือดครบส่วนเป็นระยะนาน 6 เดือน สามารถนำมาใช้ประโยชน์เป็นวัสดุอ้างอิง วัสดุควบคุมคุณภาพการตรวจวิเคราะห์ และการคัดเลือดเครื่องตรวจวัดน้ำตาลเเบบพกพา หรือกลูโคสมิเตอร์เพื่อนำมาใช้ในโรงพยาบาลตามเเนวทางการทดสอบ ณ จุดดูเเลผู้ป่วยสำหรับประเทศไทย พ.ศ. 2558 โดยกระทรวงสาธารณสุข สำหรับวัสดุเลือดครบส่วนที่มีการนำมาใช้ในประเทศไทยจะนำเข้าจากยุโรปหรืออเมริกาเนื่องจากยังไม่สามารถผลิตได้ในประเทศไทย กรรมวิธีที่ บริษัท วีเมด เเล็บ เซ็นเตอร์ จำกัด (ชื่อเดิม เอ็นยู เมด เเล็บ เซ็นเตอร์ จำกัด) นำมาผลิตสามารถใช้เลือดเหลือใช้จากธนาคารโลหิตมาเป็นวัตถุดิบหลัก (เอกสารยื่นขอรับรองสิทธิบัตร หมายเลข 1401002618 วันที่ 30 เมษายน 2557) และสามารถผลิตในในห้องปฏิบัติการของโรงงานของบริษัทโดยใช้กรรมวิธีเฉพาะต่อยอด up scale จากงานวิัจัยผลิตระดับ Lab scale สู่ industrial scale

ประโยชน์ด้านสังคม

ในอดีตการควบคุมคุณภาพและการประเมินคุณภาพการตรวจวิเคราะห์น้ำตาลในเลือดที่มีการใช้งาน 95% ในโรงพยาบาล และ 100%.โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสามารถทำได้ยากเนื่องจากวัสดุอ้างอิงที่นำมาใช้จะต้องนำเข้าจากต่างประเทศด้วยราคาสูง 500-600 บาทต่อมิลลิลิตร ในพ.ศ. 2555-2556 กระทรวงสาธารณสุขได้มีนโยบายให้มีการพัฒนาคุณภาพการตรวจทางห้องปฏิบัติการพื้นฐาน ณ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) โดยมีการนำวัสดุอ้างอิงจากต่างประเทศมาใช้ในการทดสอบความชำนาญเพื่อประเมินคุณภาพเเต่เนื่องจากวัสดุมีราคาเเพงทำให้มีรพ.สต.บางส่วนเท่านั้นที่ถูกสุ่มให้เข้าร่วมโครงการ <br /> บริษัทได้ร่วมกับนักวิจัยนำผลิตภัณฑ์วัสดุอ้างอิงมาใช้ในการฝึกอบรมการตรวจวิเคราะห์ และการควบคุมคุณภาพเเก่บุคลากรของโรงพยาบาลและโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ทำให้เกิดการพัฒนาทางด้านคุณภาพการตรวจวัด และเห็นความสำคัญของการควบคุมคุณภาพการตรวจวัดเพื่อให้ผลการนำไปใช้ในการป้องกัน และติดตามโรคเบาหวานมีประสิทธิภาพมากขึ้น