National Innovation Awards Winners

ผลงานที่ได้รับรางวัลนวัตกรรมแห่งชาติ

Back
National Innovation Award 2018

รางวัลชมเชย ด้านเศรษฐกิจ ประจำปี 2018

โครงการนวัตกรรม
High fidelity multi material 3D scanner
ผู้เสนอผลงาน
Borom Tunwattanapong
บริษัท ลูมิโอ ทรีดี จำกัด
ความเป็นนวัตกรรม

เทคโนโลยีเครื่องแสกนสามมิติในปัจจุบันเน้นการใช้งานแสงเลเซอร์ในการตรวจวัดวัตถุสามมิติไม่ว่าจะเป็นแสงเลเซอร์จากจุดจุดเดียวหรือแสงเลเซอร์แบบแนวระนาบ แต่หลังจากที่มีการใช้งานและพัฒนามาต่อเนื่องนานกว่า 20 ปี ก็ได้มีการค้นพบข้อบกพร่องหลายด้านเช่น เลเซอร์ใช้เวลาในการตรวจวัดนาน เลเซอร์ความแม่นยำสูงมีราคาแพง ไม่เหมาะสมกับการนำมาใช้ในการตรวจวัดสายงานการผลิตในโรงงานอุตสาหกรรม (Assembly line) มีการเคลื่อนไหวด้วยความรวดเร็ว แสงจากเลเซอร์อาจเป็นอันตรายต่อดวงตา และการตรวจวัดจากแสงเลเซอร์ไม่สามารถเก็บข้อมูลลักษณะพื้นผิวของสิ่งของได้ เทคโนโลยีใหม่นี้เป็นการนำเทคโนโลยีการใช้แสงไฟ LED ผนวกกับกล้องถ่ายภาพขนาดเล็กมาใช้ในการสแกนวัตถุสามมิติให้ได้ความละเอียดและแม่นยำสูงที่สุด โดยผลลัพธ์ที่ได้คือข้อมูลวัตถุสามมิติพร้อมกับข้อมูลสีของพื้นผิวที่สามารถนำไปทำซ้ำ ดัดแปลง จัดเก็บ และวิเคราะห์ได้ ระบบการสแกนนี้สามารถทำงานได้อัตโนมัติ โดยมีกล้องและไฟจากรอบทิศทางทำให้สามารถใช้งานได้ง่ายและรวดเร็ว เครื่องแสกนเนอร์แบบใหม่นี้มีราคาต่ำกว่าเครื่องแสกนเลเซอร์ความละเอียดสูงเพราะการใช้ LED ที่มีราคาถูกเนื่องจากมีการผลิตเป็นจำนวนมากในอุตสากรรมหลายประเภท และยังมีการใช้กล้องถ่ายภาพขนาดเล็กสำหรับมือถือแทนการใช้เลเซอร์เซนเซอร์ที่มีราคาแพงกว่าเช่นกัน การใช้ LED นั้นยังปลอดภัยกับผู้ใช้และไม่เป็นอันตรายต่อดวงตา ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นการกำจัดข้อบกพร่องจากการตรวจวัดด้วยแสงเลเซอร์โดยสิ้นเชิง

ประโยชน์ด้านเศรษฐกิจ

เครื่องสแกนสามมิตินี้ได้ถูกนำไปใช้ในอุตสาหกรรมหลากหลายประเภท ไม่ว่าจะเป็น<br /> - การนำสินค้าเข้าเว็บไซต์แบบสามมิติ<br /> - การนำเสนอสินค้าในรูปแบบ interactive ที่สามารถปรับแต่งได้<br /> - การสร้าง content สำหรับเกมส์แบบ virtual reality<br /> - การตรวจวัดเครื่องประดับเก่าเพื่อนำมาทำขึ้นใหม่<br /> <br /> การสแกนสามมิติยังสามารถนำไปใช้ได้กับอุตสาหกรรมอีกหลายประเภทซึ่งจะส่งผลให้เกิดการพัฒนาทั้งในด้านคุณภาพของสินค้าที่สูงขึ้นและลดต้นทุนการผลิตให้ต่ำลง เช่น<br /> - การพัฒนาการตรวจวัดคุณภาพการผลิต (quality control) ผ่านการสแกนสามมิติ<br /> - การออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ด้วยการสแกนและพิมพ์สามมิติ<br /> - การทำชิ้นส่วนทดแทน สำหรับชิ้นส่วนที่หาได้ยาก ด้วยการสแกนแล้วพิมพ์สามมิติ<br /> - การนำเสนอสิ้นค้าที่สแกนสามมิติ ผ่านระบบความจริงเสริมแต่ง (Augmented reality) เพื่อเพิ่มแรงจูงใจในการซื้อ<br /> - การวิเคราะห์รูปร่างของวัตถุ เพื่อปรับแต่งให้สามารถประกอบกันได้ ผ่านการสแกนสามมิติ