National Innovation Awards Winners

ผลงานที่ได้รับรางวัลนวัตกรรมแห่งชาติ

Back
National Innovation Award 2017

รางวัลชนะเลิศ ด้านเศรษฐกิจ ประจำปี 2017

โครงการนวัตกรรม
TR TRANSFORMER II
ผู้เสนอผลงาน
Mr.Sompong Phaoenchoke
Thai Rung Union Car Public Company
ความเป็นนวัตกรรม

จุดเริ่มต้นของแนวคิดในการพัฒนารถยนต์ TR TRANSFORMER ขึ้นมานั้น เนื่องจากบริษัทฯ เล็งเห็นว่าตลาดรถยนต์ตรวจการณ์อเนกประสงค์ หรือรถยนต์ที่ใช้ในภารกิจทางการทหาร และหน่วยงานราชการต่าง ๆ ในขณะนั้นยังไม่มีผู้ผลิตในประเทศไทย ที่สามารถผลิตได้คุณภาพตามมาตรฐานสากล ส่วนใหญ่จึงเป็นการนำเข้ารถยนต์จากต่างประเทศ ซึ่งมีราคาแพง และค่าบำรุงรักษาสูง ดังนั้นเพื่อเป็นการช่วยเหลือประเทศให้ประหยัดงบประมาณ และลดการสูญเสียเงินตราจากการนำเข้ารถยนต์ที่มีราคาแพงจากต่างประเทศ บริษัทฯ จึงได้คิดพัฒนารถยนต์ตรวจการณ์ ขึ้นมา โดยพัฒนาขึ้นตามความต้องการในการใช้งานของทางกองทัพ โดยการนำเอาโครงสร้างของรถยนต์บรรทุกปิกอัพ (pick up) ที่มีการผลิตขายในประเทศมาพัฒนาออกแบบผลิตตัวถังใหม่ทั้งหมดให้สามารถใช้งานได้หลากหลายภารกิจทั้งเป็นรถยนต์นั่งทั่วไป และรถอเนกประสงค์สำหรับภารกิจทางการทหาร และภารกิจพิเศษของหน่วยงานราชการต่าง ๆ ซึ่งมีคุณภาพเทียบเท่ารถยนต์นำเข้ามาจากต่างประเทศ และมีอรรถประโยชน์มากกว่า เพราะสามารถนั่งโดยสารได้มากถึง 11 ที่นั่ง ด้วยความปลอดภัยในราคาประหยัด ซึ่งเป็นประโยชน์สำหรับผู้บริโภคคนไทยเป็นอย่างยิ่ง อีกทั้งยังเป็นรถยนต์ที่มีความสมบูรณ์แบบได้มาตรฐานสากล ที่ง่ายในการซ่อมแซมและบำรุงรักษา อีกทั้งมีค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซมต่ำ เพราะใช้ชิ้นส่วนหลักเช่นเดียวกันกับรถทั่วไป บริษัท ไทยรุ่งยูเนี่ยนคาร์ จำกัด (มหาชน) ซึ่งดำเนินธุรกิจยานยนต์ที่ครบวงจร ตั้งแต่การออกแบบวิจัยพัฒนาชิ้นส่วนและตัวถังรถยนต์ การผลิตแม่พิมพ์และอุปกรณ์จับยึด การผลิตชิ้นส่วนโลหะและพลาสติก การประกอบรถยนต์ การขายรถยนต์และบริการหลังการขาย สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มได้ตลอดวงจรของอุตสาหกรรมยานยนต์ บริษัทให้ความสำคัญอย่างยิ่งกับการออกแบบและสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ของตนเอง สร้างความแตกต่าง เป็นผู้นำในการออกแบบและผลิตตัวถังรถยนต์ ยานยนต์ประเภทต่างๆ คิดสร้างสินค้าใหม่ๆ ที่เดิมไม่เคยมีการขายหรือผลิตในประเทศมาก่อน บริษัทฯ จึงได้ออกรถและพัฒนารถยนต์รุ่น TR TRANSFORMER เป็นรุ่นแรกในปี 2552 และเริ่มเปิดจำหน่ายครั้งแรกในปี 2553 โดยบริษัทฯ ยังคงพัฒนารถยนต์อย่างต่อเนื่องเพื่อตอบสนองความต้องการที่หลากหลายของหน่วยงานทหารและส่วนงานราชการอื่นๆ ตลอดจนลูกค้าทั่วไปผู้ชื่นชอบรถยนต์ประเภทนี้ และได้เปิดตัวรถยนต์ TR TRANSFORMER II เมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2559 ที่ผ่านมา โดยคาดหวังให้รถ TR TRANSFORMER II รถยนต์อเนกประสงค์ที่พัฒนาขึ้นด้วยศักยภาพของคนไทยซึ่งมีคุณภาพและมาตรฐานในระดับสากล สามารถใช้งานได้หลากหลายภารกิจ เป็นรถยนต์ที่มีความแข็งแรง และปลอดภัยสำหรับผู้ใช้งาน และเป็นอีกทางเลือกหนึ่งของหน่วยงานทหาร หน่วยงานราชการและหน่วยงานอื่น ๆ ที่ต้องการใช้รถยนต์อเนกประสงค์ดังกล่าว เพื่อทดแทนการนำเข้ารถยนต์จากต่างประเทศ ซึ่งมีราคาและค่าบำรุงรักษาที่สูง นอกจากนี้บริษัทฯ ยังมีนโยบายในการส่งออกรถยนต์รุ่นนี้ไปขายยังต่างประเทศ เพื่อสร้างรายได้ และชื่อเสียงให้กับบริษัทฯ และประเทศไทยอีกด้วย แนวคิดในการออกแบบพัฒนาตัวถังรถยนต์ประเภทต่างๆ ของบริษัทนั้น จะมุ่งเน้นการออกแบบรถยนต์เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าในกลุ่มที่ผู้ผลิตรถยนต์เจ้าของแบรนด์ยังไม่ได้ทำหรือทำในสิ่งที่เหนือกว่าตลอดเวลา สร้างขีดความสามารถในการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ โดยใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยร่วมกับวิศวกรรมออกแบบและนักออกแบบจากต่างประเทศ รวมทั้งความร่วมมือกับสถาบันการศึกษา และสถาบันวิจัยของรัฐบาลไทยเพื่อร่วมกันพัฒนาบุคลากรและใช้องค์ความรู้และแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ด้วยกัน รถยนต์ TR TRANSFORMER II เป็นอีกหนึ่งผลิตภัณฑ์ที่บริษัทฯ มีความภาคภูมิใจเป็นอย่างยิ่ง เป็นรถยนต์อเนกประสงค์ที่พัฒนามาจากพื้นฐานรถกระบะซึ่งมีฐานการผลิตในประเทศไทย โดยนำมาพัฒนาออกแบบผลิตตัวถังใหม่ทั้งหมด ให้มีความแข็งแรง และสามารถใช้งานได้หลากหลายรูปแบบ เช่น - เป็นรถยนต์นั่งที่มีขนาดตัวถังและห้องโดยสารกว้าง สามารถจัดรูปแบบที่นั่งได้หลากหลายตั้งแต่ 5–11 ที่นั่ง - เป็นรถตรวจการณ์อเนกประสงค์ สามารถจัดวางอุปกรณ์ทางการทหารต่างๆ ได้หลากหลายรูปแบบ และมีพื้นที่บรรทุกสัมภาระมาก มีตัวถังที่ยกสูง สามารถลุยน้ำได้ไม่น้อยกว่า 50 ซม. และสามารถดัดแปลงให้ใช้งานได้หลายรูปแบบ เช่น รถพยาบาลฉุกเฉินภาคสนาม รถบรรเทาสาธารณะภัย รถควบคุมระบบสื่อสาร เป็นต้น โดยในการออกแบบและพัฒนารถยนต์ TR TRANSFORMER II บริษัทฯ ใช้หลักการออกแบบและคำนวณทางวิศวกรรมขั้นสูงทางคอมพิวเตอร์ เช่น โปรแกรม Computer Aided Design (CAD), Computer Aided Manufacturing (CAM) และ Computer Aided Engineering (CAE) และใช้เทคโนโลยีในการผลิตตามมาตรฐานสากลเทียบเท่าแบรนด์ชั้นนำทั่วไป และได้ว่าจ้างผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบของ บริษัท Shadow Design จากประเทศอังกฤษ ซึ่งมีประสบการณ์ออกแบบรถชั้นนำของโลกมาให้คำปรึกษา ถ่ายทอดเทคนิคและความรู้ในการออกแบบ Styling, การทำ Clay Model, การออกแบบชิ้นส่วน และการทำรถต้นแบบ และสิ่งที่บริษัทฯ ให้ความสำคัญมากที่สุดคือความปลอดภัยของผู้โดยสาร ความแข็งแรงของตัวถังรถยนต์ และการนั่งที่สะดวกสบายตามมาตรฐานการออกแบบและผลิตรถยนต์ มีความเหมาะสมในการใช้งานทั้งภูมิประเทศแบบทั่วไป และภูมิประเทศแบบทุรกันดาร โดยได้ผ่านการทดสอบด้านความแข็งแรงโครงสร้าง และด้านสภาวะความสบายของการโดยสาร โดยภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกลและการบิน-อวกาศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

ประโยชน์ด้านเศรษฐกิจ

รถยนต์อเนกประสงค์ TR TRANSFORMER II เกิดจากการพัฒนานวัตกรรมของคนไทย ซึ่งจะเป็นนวัตกรรมต้นแบบในการพัฒนารถยนต์ประเภทต่าง ๆ ในอนาคตของบริษัท เช่น รถ Special Purpose ต่างๆ, รถยนต์ไฟฟ้า, รถมินิบัส และรถบัสไฟฟ้า เป็นต้น เพื่อให้สอดคล้องและก้าวทันการเปลี่ยนแปลงในอุตสาหกรรมยุค 4.0 ที่เน้นการสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ และการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้า ซึ่งสามารถนำไปสู่เป้าหมายที่จะทำให้ประเทศไทยเป็นผู้นำและเป็นศูนย์กลางของอุตสาหกรรมต่อตัวถัง และผลิตยานยนต์เฉพาะทาง (Special Purpose Automobile) ในอาเซียน และเอเชีย เช่น รถบัส, รถมินิบัส, รถพยาบาล, รถดับเพลิง, รถบรรทุกเพื่อการขนส่งประเภทต่างๆ, รถที่ใช้ในงานก่อสร้าง เช่น รถดัมพ์, รถโม่ปูน เป็นต้น ดังนั้น การพัฒนารถยนต์ TR TRANSFORMER II จึงก่อให้เกิดประโยชน์ทางด้านเศรษฐกิจและสังคม ดังนี้<br /> 7.1 ลดการเสียดุลการค้า และลดการสูญเสียเงินตราให้ต่างประเทศประมาณ 3,000 ล้านบาทต่อปี <br /> หากหน่วยงานทหาร หน่วยงานราชการอื่น ๆ และลูกค้าที่ชื่นชอบรถยนต์ประเภทออฟโรด หันมาซื้อรถอเนกประสงค์ TR TRANSFORMER II ซึ่งผลิตในประเทศไทย ใช้วัตถุดิบภายในประเทศ ก็จะช่วยประเทศไทยลดการเสียดุลการค้า และลดการสูญเสียเงินตราจากการนำเข้ารถยนต์ที่มีราคาแพงจากต่างประเทศได้ประมาณ 3,000 ล้านบาทต่อปี (หากสมมุติฐานว่ามีการนำเข้ารถยนต์อเนกประสงค์สำหรับหน่วยงานราชการและบุคคลทั่วไป ปีละประมาณ 500 คัน ราคารถยนต์นำเข้าคันละประมาณ 6 ล้านบาท)<br /> 7.2 สร้างงานให้กับคนไทย และสร้างรายได้ให้กับผู้ผลิตชิ้นส่วนตลอด supply chain<br /> การผลิตและประกอบรถยนต์ TR TRANSFORMER II พัฒนามาจากพื้นฐานรถกระบะซึ่งมีฐานการผลิตในประเทศไทย โดยนำมาพัฒนาออกแบบผลิตตัวถังใหม่ทั้งหมด โดยใช้วัตถุดิบและชิ้นส่วนที่ผลิตในประเทศไทย จึงเป็นการช่วยสร้างงานสร้างอาชีพให้กับคนไทยที่อยู่ในอุตสาหกรรมต่าง ๆ ตลอด supply chain เช่น เหล็ก ยาง พลาสติก สายไฟ หลอดไฟ และชิ้นส่วนต่าง ๆ จำนวนมาก <br /> 7.3 สร้างรายได้จากการส่งออกรถ TR TRANSFORMER II ไปยังต่างประเทศ<br /> รถยนต์ TR TRANSFORMER II เป็นรถยนต์ที่ออกแบบและผลิตโดยคนไทยที่มี Brand เป็นของตนเอง และมีโอกาสส่งออกไปต่างประเทศที่มีปริมาณความต้องการเพิ่มขึ้นทุกๆ ปี ซึ่งจะสร้างการจ้างงานภายในประเทศ ลดการพึ่งพาการนำเข้า และลดการเสียดุลการค้ากับต่างประเทศ และสร้างชื่อเสียงให้กับประเทศไทย โดยในระหว่างปี 2557-2559 บริษัทฯ ได้ส่งออกรถยนต์ TRANSFORMER ไปจำหน่ายยังต่างประเทศจำนวนกว่า 165 คัน ไม่ว่าจะเป็นกองทัพมาเลเซีย, ศรีลังกา, พม่า เป็นต้น และในอนาคตมีเป้าหมายที่จะส่งออก 1,000 คันต่อปี สร้างรายได้ให้บริษัทกว่า 1,400 ล้านบาทต่อปี<br /> 7.4 ประโยชน์ด้านอื่น ๆ อาทิ<br /> • พัฒนาบุคลากรวิศวกร และช่างฝีมือคนไทย ให้มีโอกาสทำงานด้านวิจัยและพัฒนาไปสู่การผลิตจริง<br /> • พัฒนาความร่วมมือกับสถาบันการศึกษาในการใช้องค์ความรู้ด้านต่าง ๆ ช่วยยกระดับนักวิจัยและอาจารย์มหาวิทยาลัย ให้ได้รับความรู้และกรณีศึกษาต่าง ๆ ในการออกแบบ, การทดสอบ, สร้างผลิตภัณฑ์รถยนต์ และตัวถังรถยนต์ของคนไทยเอง<br /> • ได้รับการถ่ายทอดความรู้จากผู้เชี่ยวชาญ นักออกแบบและวิศวกร ผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศระดับสากลชั้นนำ มาถ่ายทอดความรู้ ทำงานร่วมกับวิศวกรไทยตั้งแต่ขั้นตอนการทำรถต้นแบบ, การวางแผนโครงสร้างรถ, เทคนิคการทำรถต้นแบบ, การออกแบบชิ้นส่วนต่าง ๆ เทคนิคการผลิต และการทดสอบ<br /> • ช่วยยกระดับความสามารถของวิศวกรและนักออกแบบของไทยให้สามารถพัฒนาขีดความสามารถไปสู่การออกแบบรถรุ่นต่าง ๆ ได้ด้วยตนเอง<br /> • สามารถต่อยอดไปสู่การผลิตรถยนต์ประเภทต่าง ๆ ในอนาคต เช่น รถยนต์ที่ใช้พลังงานไฟฟ้า (EV), รถมินิบัส, รถ special purpose, รถทางการทหาร เป็นต้น<br /> • ช่วยให้ประเทศไทยสามารถพึ่งพาตนเองได้ มีองค์ความรู้ที่ครบถ้วนในการออกแบบและผลิตรถยนต์ของตนเองได้<br /> • เกิดความร่วมมือกันในหมู่ผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ของคนไทยกว่า 30 บริษัทในการพัฒนาชิ้นส่วนต่าง ๆ เพื่อผลิตรถยนต์ของคนไทย ทำให้ผู้ผลิตชิ้นส่วนเหล่านี้ได้มีโอกาส ออกแบบคิดค้นและพัฒนาชิ้นส่วนใหม่ๆ เพื่อใช้กับรถยนต์ของไทย เป็นการยกระดับความสามารถด้านงานวิจัยและพัฒนาไปด้วยกัน สร้างนวัตกรรมใหม่ๆ ร่วมกัน<br /> • สร้างชื่อเสียงให้กับประเทศชาติ ทำให้ต่างชาติได้เห็นถึงขีดความสามารถของคนไทย วิศวกรไทยและฝีมือของผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ไทย ที่สามารถสร้างรถยนต์แบรนด์ของคนไทยและส่งออกไปขายต่างประเทศได้