National Innovation Awards Winners

ผลงานที่ได้รับรางวัลนวัตกรรมแห่งชาติ

Back
National Innovation Award 2016

รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม ประจำปี 2016

โครงการนวัตกรรม
Prefabricated Obturator
ผู้เสนอผลงาน
Ms. Wandee Planuphap
งานทันตกรรม โรงพยาบาลศิริราช
ความเป็นนวัตกรรม

แนวคิดที่มา - ทารกแรกเกิดกลุ่มปากแหว่งเพดานโหว่ ที่มาจากที่ไกลๆ ต้องเสียเวลารอคอยในการทำเพดานเทียมไม่น้อยกว่า 3 ชั่วโมง –1 วันหรือต้องมารับเพดานเทียมในการนัดครั้งถัดไป บางครั้งการพิมพ์ปากทารกกลุ่มนี้เคยมีทารกที่หยุดหายใจชั่วขณะระหว่างพิมพ์ปากด้วย ส่วนใหญ่การพิมพ์ปากมักมีความเสี่ยงแทบทุกครั้ง แนวคิดการต่อยอดผลงาน - สามารถนำผลงานวิจัยไปใช้ในเชิงพาณิชย์ได้อีกด้วย โดยทำเป็นเพดานเทียมสำเร็จรูปพร้อมใช้บรรจุซองทั้ง 5 ขนาด - โอกาสพัฒนาไปสู่การเรียนการสอน เรื่องวิธีดูแลผู้ป่วยทารกปากแหว่งเพดานโหว่กับนักศึกษาหลักสูตรต่างๆ ที่มาเรียนและอบรมดูงาน

ประโยชน์ด้านสังคม

1) ทำให้เด็กปากแหว่งเพาดโหว่สามารถดูดนมได้รวดเร็ว ซึ่งมีผลต่อการพัฒนาการทางร่างกาย สมองเท่าเทียมกับเด็กปกติ<br /> <br /> 2) ทำให้ผู้ปกครองคลายความกังวลต่อการเลี้ยงดูเด็กกลุ่มเด็กปากแหว่งเพดานโหว่<br /> <br /> 3) สามารถแก้ไขสันเหงือก และรูปหน้าของเด็กกลุ่มนี้ให้ใกล้เคียงกับเด็กปกติ