National Innovation Awards Winners

ผลงานที่ได้รับรางวัลนวัตกรรมแห่งชาติ

Back
National Innovation Award 2018

รางวัลชมเชย ด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม ประจำปี 2018

โครงการนวัตกรรม
Whole blood reference material for blood glucose testing by glucose meter
ผู้เสนอผลงาน
ตรีบุพชาติสกุล
บริษัท วี เมด เเล็บ เซ็นเตอร์ จำกัด
ความเป็นนวัตกรรม

วัสดุอ้างอิงเลือดครบส่วน คือ วัสดุที่มีคุณลักษณะเหมือนเลือดมนุษย์ผลิตด้วยกรรมวิธีที่คิดค้นขึ้นด้วยนักวิจัยของมหาวิทยาลัยนเรศวรทำให้มีความคงตัวของระดับน้ำตาลกลูโคสในวัสดุเลือดครบส่วนเป็นระยะนาน 6 เดือน สามารถนำมาใช้ประโยชน์เป็นวัสดุอ้างอิง วัสดุควบคุมคุณภาพการตรวจวิเคราะห์ และการคัดเลือดเครื่องตรวจวัดน้ำตาลเเบบพกพา หรือกลูโคสมิเตอร์เพื่อนำมาใช้ในโรงพยาบาลตามเเนวทางการทดสอบ ณ จุดดูเเลผู้ป่วยสำหรับประเทศไทย พ.ศ. 2558 โดยกระทรวงสาธารณสุข สำหรับวัสดุเลือดครบส่วนที่มีการนำมาใช้ในประเทศไทยจะนำเข้าจากยุโรปหรืออเมริกาเนื่องจากยังไม่สามารถผลิตได้ในประเทศไทย กรรมวิธีที่ บริษัท วีเมด เเล็บ เซ็นเตอร์ จำกัด (ชื่อเดิม เอ็นยู เมด เเล็บ เซ็นเตอร์ จำกัด) นำมาผลิตสามารถใช้เลือดเหลือใช้จากธนาคารโลหิตมาเป็นวัตถุดิบหลัก (เอกสารยื่นขอรับรองสิทธิบัตร หมายเลข 1401002618 วันที่ 30 เมษายน 2557) และสามารถผลิตในในห้องปฏิบัติการของโรงงานของบริษัทโดยใช้กรรมวิธีเฉพาะต่อยอด up scale จากงานวิัจัยผลิตระดับ Lab scale สู่ industrial scale

ประโยชน์ด้านสังคม

ในอดีตการควบคุมคุณภาพและการประเมินคุณภาพการตรวจวิเคราะห์น้ำตาลในเลือดที่มีการใช้งาน 95% ในโรงพยาบาล และ 100%.โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสามารถทำได้ยากเนื่องจากวัสดุอ้างอิงที่นำมาใช้จะต้องนำเข้าจากต่างประเทศด้วยราคาสูง 500-600 บาทต่อมิลลิลิตร ในพ.ศ. 2555-2556 กระทรวงสาธารณสุขได้มีนโยบายให้มีการพัฒนาคุณภาพการตรวจทางห้องปฏิบัติการพื้นฐาน ณ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) โดยมีการนำวัสดุอ้างอิงจากต่างประเทศมาใช้ในการทดสอบความชำนาญเพื่อประเมินคุณภาพเเต่เนื่องจากวัสดุมีราคาเเพงทำให้มีรพ.สต.บางส่วนเท่านั้นที่ถูกสุ่มให้เข้าร่วมโครงการ <br /> บริษัทได้ร่วมกับนักวิจัยนำผลิตภัณฑ์วัสดุอ้างอิงมาใช้ในการฝึกอบรมการตรวจวิเคราะห์ และการควบคุมคุณภาพเเก่บุคลากรของโรงพยาบาลและโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ทำให้เกิดการพัฒนาทางด้านคุณภาพการตรวจวัด และเห็นความสำคัญของการควบคุมคุณภาพการตรวจวัดเพื่อให้ผลการนำไปใช้ในการป้องกัน และติดตามโรคเบาหวานมีประสิทธิภาพมากขึ้น